• Home »
  • ShowSlideAll »
  • โรคไอกรน ระบาดหนัก ขอให้ประชาชนเร่งนำบุตรหลานฉีดวัคซีน
โรคไอกรน ระบาดหนัก ขอให้ประชาชนเร่งนำบุตรหลานฉีดวัคซีน

โรคไอกรน ระบาดหนัก ขอให้ประชาชนเร่งนำบุตรหลานฉีดวัคซีน

 

ปลัด สธ. เผย โรคไอกรน กำลังระบาด ขอให้ ประชาชน. ระมัดระวัง ขอให้นำบุตรหลานฉีดวัคซีนทั่วทุกคน

         นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดได้กับประชาชนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคทุกคน ทุกวัย โรคนี้ป้องกันได้ด้วยการฉัดวัคซีน ซึ่งขณะนี้ได้พัฒนาเป็นวัคซีนรวม 1 เข็ม ป้องกันโรคได้ 3 โรค คือ คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (DTP) เป็นวัคซีนพื้นฐานที่กระทรวงสาธารณสุข จัดบริการฉีดให้เด็กทุกคนในประเทศไทย โดยฉีด 5 ครั้ง เริ่มครั้งที่ 1 เมื่ออายุ 2 เดือน และฉีดซ้ำเมื่ออายุ 4 เดือน, 6 เดือน, 1 ปี 6 เดือน และอายุ 4 ปี ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบชุดทุกคน มีโอกาสป่วยจากโรคไอกรนน้อยมาก หรือหากป่วยอาการจะไม่รุนแรง เนื่องจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันบางส่วนที่ได้จากวัคซีนแล้ว

         นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อว่า หากเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ป่วยเป็นโรคไอกรน มักจะมีอาการรุนแรง เนื่องจากระดับภูมิต้านทานโรคในร่างกายยังมีน้อย จึงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ที่พบบ่อย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิต คือ โรคปอดอักเสบ หรือปอดบวม เช่นในปี 2556 ตลอดปีพบผู้ป่วย 24 ราย ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี มากสุดคืออายุ 1-3 เดือนพบร้อยละ 33 โดยพบมีเด็กอายุ 2 เดือนเสียชีวิต 2 ราย รายที่ 1 ที่จ.ชลบุรี เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนคือ ปอดอักเสบ ได้รับการฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน 1 ครั้ง ทำให้ร่างกายยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ รายที่ 2 ที่ จ.บึงกาฬ โรคแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตคือ สมองอักเสบ รายนี้ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เนื่องจากป่วยก่อนถึงวันนัดฉีดวัคซีน ซึ่งเด็กทั้ง 2 รายนี้ เป็นเด็กเล็กเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย

         ดั้งนั้น เพื่อป้องกันการป่วยและลดอันตรายจนถึงชีวิตในเด็กเล็กจากโรคไอกรน ขอให้ผู้ปกครองทุกคนนำบุตรหลานเข้ารับการรับวัคซีนตามนัดที่ปรากฏในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ให้ครบตามช่วงวัย ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่แออัด หรือในพื้นที่ ที่มีโรคระบาด

*********************************

โรคไอกรน

         ไอกรนเป็นโรคติดต่อที่สำคัญอันหนึ่งของระบบทางเดินหายใจ พบมากในเด็กทุกเพศทุกวัยที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี เกิดได้ในทุกสภาพอากาศหรือภูมิประเทศ ในชุมชนที่มีประชาชนอาศัย อยู่รวมกันอย่างหนาแน่น มักพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้สูง โดยเฉพาะในช่วงปลายฤดูหนาวและต้นฤดู ใบไม้ผลิ

สาเหตุของโรคไอกรน
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยติดเชื้อโดยตรงจากละอองอากาศที่ผู้ป่วยไอและจาม รดใส่ หรือปนออกมากับเสมหะ นํ้ามูก นํ้าลายของผู้ป่วย

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่เชื้อแบคทีเรีย บอร์ดีเทลลา เปอร์ตัสซิส (Bordetella Pertyssis)

แหล่งของโรค ได้แก่  ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะติดต่อ

การติดต่อ เชื้อโรคอยู่ในร่างกายของผู้ป่วย โดยมักอยู่ส่วนลึกของลำคอและในหลอดลมของผู้ป่วย สามารถติดต่อได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
– การติดต่อทางตรง โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ทำให้ติดต่อได้โดยตรงจากนํ้ามูก นํ้า ลาย เสมหะของผู้ป่วย ด้วยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน
– การติดต่อทางอ้อม โดยการใช้ผ้าเช็ดหน้า ภาชนะในการดื่มและรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วย หรือหายใจเอาฝุ่นละอองที่มีเชื้อโรคเข้าไป เป็นต้น

ระยะฟักตัวของโรค ประมาณเวลา 7 วัน แต่อาจเริ่มตั้งแต่ 5-12 วัน

ระยะติดต่อ โรคไอกรนมีโอกาสติดต่อได้มากในระยะแรกที่ผู้ป่วยมีนํ้ามูก นํ้าลาย แล้วค่อยๆ ลดลงถึงสัปดาห์ที่ 3 จะไม่มีการติดต่อของโรคทั้งๆ ที่ผู้ป่วยยังมีอาการไออยู่ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจแพร่เชื้อได้เป็นเวลานาน 4-6 สัปดาห์

ความไวต่อโรคและความต้านทาน
ทุกคนที่ไต้รับเชื้อมีความไวต่อการเป็นโรคไอกรน ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าทารกได้รับภูมิคุ้มกันโรคนี้จากมารดาหรือถ้าได้ก็น่าจะอยู่ในระดับต่ำ

มีการสำรวจพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี อัตราป่วยด้วยโรคนี้สูง มีอัตราการตายมากที่สุดใน กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีที่ป่วยเป็นโรคนี้ กลุ่มเพศหญิงจะมีอัตราป่วยและตายสูงกว่าเพศชาย ฉะนั้นต้องให้เด็กเล็กได้รับวัคซีนตามกำหนด ผู้ป่วยเมื่อหายจากโรคไอกรนจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคได้นาน แต่อาจเป็นซํ้าสองได้ในวัยผู้ใหญ่

อาการของโรคไอกรน
ผู้ป่วยจะมีอาการคันคอและไอ จากไอธรรมดาเป็นไอซ้อนติดต่อกันเป็นชุดๆ จนหายใจไม่ ทันเพราะน้ำมูกไหล มีเสียงหายใจเข้าดังวู้บ ผู้ป่วยบางคนอาจไอจนหน้าเขียวเนื่องจากขาดอากาศหายใจ โดยเฉพาะในเด็กเล็กจะมีอาการมากกว่าเด็กโตและผู้ใหญ่

ไอกรนเป็นโรคติดต่อแบบเฉียบพลัน มีอาการของหลอดเลือดใหญ่ หลอดลมเล็ก และ แขนงหลอดลม แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

1. ระยะเริ่มต้น (Catarrbal Sfage) ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการไอนํ้าตาไหล จาม นํ้ามูกไหล เบื่ออาหาร เวียนศีรษะ มีอาการไอแห้งเสียงดังแค้กๆ คล้ายเป็นหวัดในเวลากลางคืน และต่อไป จะไอในเวลากลางวันด้วย ระยะนี้กินเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์

2. ระยะที่สอง (Paroxysmal Stage) ผู้ป่วยจะมีอาการไอถี่ขึ้น ไอเป็นชุดจนแทบไม่ได้ พักหายใจ ไอชุดหนึ่งประมาณ 10-15 ครั้ง ทำให้พอหายไอจะหายใจเข้าปอดอย่างแรงลึกๆ เกิดเสียงดัง “วูด” หรือ ’’วี้ด” (Whoop) ซึ่งเป็นระยะที่เรียกว่า “ไอกรน” และจะยิ่งมีอาการไอ มากขึ้นจนหน้าเขียว เส้นโลหิตที่คอโป่ง มีโลหิตออกจากเยื่อตา และอาจอาเจียนเนื่องจากมีเสมหะมาก ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้พักผ่อน มีอารมณ์ฉุนเฉียว ในเด็กเล็กจะร้องไห้กวน ระยะนี้กิน เวลาประมาณ 10-14 วัน

3. ระยะที่สาม (Convalescent Stage) ต่อจากช่วงที่มีอาการรุนแรงของโรคแล้ว อาการ ไอจะทุเลาลง และจะหมดอาการของโรคเมื่อครบ 3 เดือนโดยประมาณ

โรคไอกรนเทียม (Paratertussis) ลักษณะอาการของโรคในผู้ป่วยบางคนอาจไม่รุนแรง หรือเนื่องจากเกิดเชื้อบอร์ดีเทลลา เปอร์ตัสซิส (Bordetella Pertussis)

การตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค
1. สังเกตจากอาการ โดยเฉพาะอาการไอ และอาการอื่นๆของผู้ป่วย
2. ตรวจพบจำนวนเม็ดโลหิตขาวสูงประมาณ 15,000-20,000 ตัวต่อคิวบิดมิลลิเมตร และ 60-80 % เป็นเซลล์ของพวกลิมโฟไชท์
3. เมื่อนำไม้พันสำลีไปกวาดบริเวณหลอดคอส่วนจมูก (Nasopharyngealswab) แล้วนำ ไปเพาะเชื้อ จะพบเชื้อโรคนี้

การรักษาพยาบาล
ให้ยาอีริธโทรมัยชิน (Erythromycin) 50 มก./นน.ตัว 1 กก. ให้ ไฮเปอร์ฮีมูน แกมมา กลอบุลสิน (Hyperimmune gamma globullin) 3-6 ซีซี. ฉีดเข้ากล้ามเนี้อ
รักษาตามอาการ ให้อาหารที่มีแคลอรี่สูง พักผ่อนให้เพียงพอ และให้ยาขับเสมหะ ยากล่อมประสาทช่วยให้ผู้ป่วยลดอาการไอ การใช้ยาควรอยู่ในความควบคุมของแพทย์

วัคซีน
ในเด็กเกิดใหม่ เริ่มให้วัคซีนตั้งแต่อายุ 2-3 เดือน ฉีด 2 ครั้งห่างกัน 2 เดือน แล้วฉีดซํ้าเมื่อครบ 1 ปีครึ่ง ต่อไปจึงฉีด 1 ครั้ง เมื่อเด็กอายุ 5-6 ปีตอนเข้าโรงเรียน

โรคแทรกซ้อน ได้แก่โรคปอดบวม หูนํ้าหนวก เด็กบางคนไอมากจนกินอาหารไม่ได้ จนเกิดภาวะขาดอาหาร และเจ็บชายโครงเนื่องจากไอทำให้ความตันในช่องท้องสูงอาจเกิดเป็น ไส้เลื่อนได้และทำให้ตาแดงปอดอักเสบ ถ้าเป็นวัณโรคอาการก็จะกำเริบ หากมีอาการเรื้อรังหรือ อาการของโรคหรือโรคแทรกซ้อน ควรรีบกลับไปพบแพทย์

โรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายไอกรน ได้แก่โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้ หวัด วัณโรค เป็นต้น

การปฏิบัติตน
เมื่อป่วยหรือสงสัยว่าเป็น โรคไอกรน นอกจากการรีบไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำ แนะนำเกี่ยวกับผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำแล้ว ยังมีข้อควรทราบ เกี่ยวกับการปฏิบัติเฉพาะโรคเพิ่มเติม ดังนี้
1. ควรจัดแยกผู้ป่วยให้อยู่ต่างหากทันทีเมื่อเห็นว่ามีอาการของโรค
2. ควรทำลายเชื้อที่ออกมากับนํ้ามูก นํ้าลาย เสมหะ ในนํ้ายาฆ่าเชื้อโรค แล้วจึงนำไปฝัง หรือ เผาไฟทิ้ง หรือก่อนนำไปซักล้างแล้วต้ม สำหรับข้าวของเครื่องใช้ของผู้ป่วย

การป้องกันและควบคุมโรค นอกจากปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการรับเชื้อหรือภาวะที่ทำให้เกิดโรค ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำแล้ว ยังมีข้อควร ทราบเพิ่มเติมเฉพาะโรค ดังนี้
1. ให้เด็กเล็กได้รับภูมิคุ้มกัน ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรนและโรคอื่นๆตามกำหนด
2. ไอกรนเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็กถึงชีวิต ควรให้ความระมัดระวัง ดูแลเป็นพิเศษ

การป้องกันในขณะมีการระบาด
ขณะมีการระบาดควรสืบสวนหาผู้ป่วยที่ไม่ได้รับรายงาน
การควบคุมและป้องกันระหว่างประเทศ ให้ภูมิคุ้มกันโรคแบบแอคทิฟแก่เด็กที่ จะเดินทางระหว่างประเทศ

ข้อควรทราบเพิ่มเติม ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อัตราป่วยและตายของโรคนี้ลดลง อาจ เนื่องจากประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนและอยู่ดีกินดีรวมทั้งได้รับการบริการด้านรักษาพยาบาลดีขึ้น แต่ในชุมชนที่ยังด้อยพัฒนา อัตราป่วยและตายของเด็กด้วยโรคนี้ยังคงสูงอยู่

 

ขอขอบคุณข้อมูล  ไอ.เอ็น.เอ็น, healthcarethai

 

แบ่งปันข่าวสาร Like & Share ให้ด้วยนะค่ะ