ติวเวชกรรมแผนไทย 1 มสธ หน่วยที่ 8

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ท

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ท

ติวเวชกรรมแผนไทย 1 มสธ หน่วยที่ 8

หน่วยที่ 8

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ คัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์

 

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ – บทไหว้ครู จรรยาแพทย์ ทับ 8 ประการ กำเนิดไข้   ป่วง8 ประการ

คัมภีสิทธิสารสงเคราะห์ –  ลำบองราหู   ทราง   ลักษณะสันนิบาต   ลักษณะเบญจกาฬสันนิบาต 5ประการ    ลักษณะสันนิบาตอันบังเกิดในกองสมุฏฐานมี 4 ประการ    ลักษณะอภิญญาณธาตุ    ลักษณะอสุรินทัญญาณธาตุ

คัมภีร์ฉันทศาสตร์

ทับ 8 ประการ (ออกสอบ  1 ข้อจ๊ะ)

1.ทับสองโทษ – สำรอก ทับ ซาง (เกิดซางก่อน เช่น มีไข้ แล้วมีสำรอกมาหลัง เช่น ท้องเดิน)

2.ทับสำรอก – ซาง ทับ สำรอก

3.ทับละออง – กำเดา ทับ ละอองซาง

4.ทับกำเดา – ซาง ทับ กำเดา

5.ทับกุมโทษ – กำเดา ทับ มูกเลือด

6.ทับเชื่อมมัว – มูกเลือด ทับ กำเดา

7. ทับลง – ตับทรุด ทับ ซาง

8. ทับช้ำใน – ไข้ ทับ ช้ำใน

 

กำเนิดไข้ด้วยที่อยู่ กาล ฤดู อายุ อาหาร และธาตุ

1.รสยา  9 รส(อันนี้ออกสอบ 1 ข้อเช่นกัน ท่องไว้ไม่เสียหลายจ๊ะ)

ฝาด- สมาน

หวาน – ซาบเนื้อ

เมาเบื่อ – แก้พิษ

ขม – ดีโลหิต

เผ็ดร้อน – ลม

มัน – เอ็น

หอมเย็น – ชื่นใจ

เค็ม – ซาบผิวหนัง

เปรี้ยว – เสมหะ

 

2. ภูมิประเทศ ที่อยู่ อาหาร

ลมกำเริบ – เปือกตม เย็น กิน เนื้อ หนัง เอ็น ปูปลา

เสมะให้โทษ – ลุ่มน้ำ กิน หวานประจำ

ดีโลหิตให้โทษ-เนินเขา กินอาหารป่า รสเผ็ดร้อน

 

3. ฤดู 6

แรม 1 ค่ำเดือน 6 –ขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 –คิมหันตฤดู+วสันตฤดู เกิดไข้เพราะดีโลหิต

แรม 1 ค่ำเดือน 10 –ขึ้น 15 ค่ำเดือน 2 –เหมันตฤดู+วสันตฤดู เกิดไข้เพราะเสมหะ

แรม 1 ค่ำเดือน 2 –ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 –คิมหันตฤดู+เหมันตฤดู เกิดไข้เพราะลม

 

4. ธาตุเจ้าเรือนกำเนิดไข้

เดือน 5   9   1 ธาตุดิน

เดือน 6  10  2 ธาตุไฟ

เดือน 7  11  3  ธาตุลม

เดือน 8   12   4 ธาตุน้ำ

 

5. วัย

ปฐมวัย ไข้ตอนเช้า  เสมหะ

มัชฌิมวัย ไข้ตอนกลางวัน โลหิต

ปัจฉิมวัย  ไข้ตอนบ่าย ลม

 

6. ธาตุเจ้าเรือน

เสาร์ -เตโช

จันทร์  พฤหัสบดี  -ปฐวี

อังคาร  -วาโย

พุธ ศุกร์  -อาโป

 

7. คำแนะนำในการรักษาไข้

ถ้ามีอาการไข้ ดูฤดู อายุ เวลา เดือนมาพิจารณาว่าเกิดจากธาตุใด

ไข้ระคนกัน วาโยกับดี เสมหะกับดี เสมหะกับลม ให้กำหนดรักษาที่ธาตุเจ้าเรือน อายุ เดือน วันเวลา กำเริบมาแทรก ถ้ารักษาไข้เจ้าเรือนหาย  ไข้แทรกก็จะหายไปด้วย

ดูว่าไข้รักษาได้ให้รักษา รักษาไม่ได้อย่ารักษาเป็นกรรม

 

ลักษณะน้ำนมดีและชั่ว (ออก 1 ข้อ ไม่ต้องแปลเพราะข้อสอบออกพรรณนาตามเนื้อหา แล้วจะถามว่า หญิงนี้น้ำนมรสใด ข้อนี้ผู้จัดทำก็ทำไม่ได้เช่นกัน)

1.ลักษณะแม่นมที่ดี

-อกไหล่ผาย เนตรน้อย พักตร์แช่มช้อย นิ่มเนื้อนวลเอวรัด เต้ากลมดั่งดอกบัว –น้ำนมเขียวรสหวาน

-พานไหล่สอบ หน้ากลม ขอบเนตรน้อย พักตร์แช่มช้อยดวงถัน ดังบุษบันตูมตั้ง กลิ่นกายคล้ายกลิ่นการะเกด – น้ำนมรสข้นหวาน

-ผิวพรรณงาม เกษกัณฑ์งามองค์  งามคิ้วก่ง ขนตา อ่อนนาสาสูงสม เต้านมกลมปลาย น้ำนมพึงใจข้น รสหวานพ้นมันสักหน่อย

-แช่มช้อยดวงพักตร์ วิลัยลักษณนารี เนตรมฤคีงามคม  งามโอษฐ์ ผมแข็งขัน งามเบื้องนั้นนาภีกาบกล้วยมีสัณฐาน น้ำนมย่อมมีสีสังข์ขาวดีสีรส มันปรากฏยิ่งนัก

 

2.ลักษณะแม่นมชั่ว

-เท้ามือสั้น เนื้อเหลืองขาวสองสี ไม่พ่วงพีไม่ผม นมยามหย่อน หัวนมน้อยไม่สมเต้าใหญ่ กลิ่นกายาน้ำล้างคาวเนื้อ นามยักขิณี

-ผิวขาวสำคัญดำแดง กลิ่นกายแรงเหมือนชาย เสียงเหมือนแพะ นามหญิงหัศดี

-อาการตาเหลือกลานไหล่ลู่ หน้าแข้งทู่ต้นขาใหญ่ยิ่งแม้นแม่มือใหญ่ ใจดื้อใจร้าย นมรสเปรี้ยว

-สันทัด ขาวเหลือง สัทสำเนียง เสียงปักษีพิราบมีกลิ่นกาย สาปแพะ นมเฝื่อนฝาด ขื่นคาวชาติจืดจาง

 

3. น้ำนมพิการ เนื่องจากธาตุกำเริบ

นมรสเปรี้ยว ขุ่นเขียว คาว – เตโช

นมสีเขียว กลิ่นคาวราวแพะ –เสมหะ+ปัถวี

สีจางใสลงน้ำกระจาย –โลหิต

 

4. น้ำนมให้โทษ เนื่องจากแม่นมไม่สมบูรณ์ เช่น แม่อยู่ไฟไม่ได้,ระดูมาไม่ปกติ,แม่ตั้งครรภ์อยู่ โทษทั้ง 3 นี้ ห้ามทารกดื่ม

 

5. วิธีทดสอบน้ำนมว่าดีหรือชั่ว (ข้อนี้ก็ออกสอบจ๊ะ)

หยดนมลงในน้ำ ถ้ากลม จมน้ำและ ไม่กลมเป็นสายแต่ปลายจม ถือว่าดี

 

ลักษณะไข้

1. เวลาจับไข้

1.ไข้เอกโทษ เวลาจับไข้ 6.00-14.00 แล้วสร้างไข้

2.ไข้ทุวันโทษ เวลาจับไข้ 6.00-20.00 แล้วสร้างไข้

3.ไข้ตรีโทษ เวลาจับไข้ 6.00-02.00 แล้วสร้างไข้

 

2.กำลังกำเริบของธาตุ (ออกสอบแต่ตอนสอบก็ทำไม่ได้ อิอิ)

กำเดา กำลัง 4 วัน

เสมหะ กำลัง 9 วัน

โลหิต กำลัง 7 วัน

วาโย กำลัง 13 วัน

 

3. ไข้สี่วาระ-กำลังธาตุทั้งหลายกำเริบ

ตติยะชวร วันแรกไปถึงวันที่ 4

ตรุณชวร วันที่ 5-7

มัธยมชวร วันที่8-15

โบราณชวร วันที่ 16-17

นานกว่านั้น “ จัตตุนันทชวร”

 

4. ลักษณะของไข้เอกโทษไข้จากสมุฏฐานกองใดกองหนึ่ง

-กำเดาสมุฏฐาน (ไข้เพื่อกำเดา) เกิดจากปิตตะสมุฏฐานกำเริบ

-เสมหะสมุฏฐาน(ไข้เพื่อเสมหะ) เกิดจากเสมหะสมุฏฐานกำเริบ

-โลหิตสมุฏฐาน(ไข้เพื่อโลหิต) มีอาการตัวร้อนจัด

 

5. ลักษณะของไข้ทุวันโทษ –ไข้จากสมุฏฐาน 2 กอง

-ลม+กำเดา อาการตัวร้อน หนาวสะท้าน กระหายน้ำ

-กำเดา+เสมหะ อาการ หนาวสะท้าน แสยงขน จุกอก

-วาโย+เสมหะ อาการ สะบัดร้อนสะบัดหนาว วิงเวียน เหงื่อตก

-กำเดา+โลหิต อาการ นอนไม่หลับ เพ้อ ปวดหัว

 

6. ลักษณะไข้ตรีโทษ – สมุฏฐาน 3 กองกระทำพร้อมกัน

เสมหะ+กำเดา+วาตะ อาการ เจ็บทุกข้อกระดูก กระหายน้ำ ร้อนใน

กำเดา+โลหิต+วาตะ อาการ ปวดเมื่อยทั่วร่างกาย ปวดหัวดังเป็นฝี วิงเวียน เดินเซ หนาวสะท้าน

โลหิต+เสมหะ+กำเดา อาการ ตัวร้อน กระหายน้ำ นอนไม่หลับ

 

7. โทษสี่ – โทษทั้ง 4 ประการ คือ เสมหะ+กำเดา+ลม+โลหิต อาการ ตัวแข็ง หายใจขัด ชัก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง (โทษมรณชวร)

 

กำเนิดไข้ (คร่าว ๆ จ๊ะ จะให้ดีอ่านในหนังสือก่อนนะ)

1.ไข้สันนิบาต

– ร้อน กระหายน้ำ ปากไหม้แตกระแหง ตาแดง

-ให้เย็น มักให้นอน เบื่ออาหาร เจ็บคอ เจ็บตา ตาแดงดังเลือด

-สะบัดร้อนสะบัดหนาว ปวดหัวหน้าผาก ปวดฟัน เจ็บคอ หายใจขัด

2.สันนิบาตโลหิต – เจ็บสะดือลามขึ้นเบื้องบน วิงเวียน ตามืด เจ็บท้ายทอยถึงกระหม่ม

3.สันนิบาตปะกัง-เม็ดผื่นแดงทั่วตัว ปวดศีรษะเวลากลางวัน

4.ไข้ตรีโทษ-ตัวลาย ดังเรื้อนราย เพ้อละเมอ หูไม่ได้ยิน

5.ไข้เพื่อวาตะและเสมหะระคนกัน – หนาวสะท้าน ย่อมบิดคร้าน วิงเวียน แสยงขน ปวดหัว

6.ไข้เพื่อเสมหะระคนน้ำดี – ตาแดง หนังแห้ง กระหายน้ำ นอนไม่หลับ

7.ไข้เพื่อวาตะระคนกำเดา-ท้องขึ้น วิงเวียน สะอึก อาเจียน

8.ไข้เพื่อเสมหะระคนกำเดา-ขัดในอกจนถึงท้อง ให้จาม

9.ไข้เพื่อลม เลือด น้ำเหลือง – คลื่นไส้ อาเจียนแต่น้ำลาย

10. ไข้เพื่อดี-นอนมาก ขมปาก เจ็บหัว เจ็บทั่วตัว

11. ไข้เพื่อกำเดา-นอนไม่หลับ, อาเจียน ปวดหัว กระหายน้ำ เจ็บคอ

12.ไข้เพื่อโลหิต – เจ็บหน้าผาก ใจกระสับกระส่าย เป็นไข้

13.ไข้เพื่อเสมหะ-นอน คลั่งไคล้ น้ำลายมากพราวพรู มือเท้าเย็น

14.ไข้เพื่อวาตะ-กินอาหารขมปาก สะท้านเนื้อ เสียวซ่าน เจ็บทั้งตัว จุดเสียด

15. ไข้สำประชวร 5 ประการ – ไข้เรื้อรังรักษาไม่หาย

-โลหิต – ตาแดงดังโลหิต ปวดหัว ตัวร้อน สะท้านรอ้นหนาว

-กำเดา-ตาแดงดังโลหิต ปวดหัวตัวน้ำ น้ำตาคลอ

-เสมหะ-ตาเหลืองดังขมิ้น หนาว แสยงขน

-ดี-ขอบตาเขียวดังแว่นเข้าแปะตา ตัวร้อน เพ้อคลั่ง ปวดหัว

-ลม – ตาคล้ำให้มัว ตามัว วิงเวียน

16.ไข้เพื่อวาตะ เสมหะแทรก – ปวดหัวมาก หนาว บิด คร้านไอ

17.ไข้เพื่อเสมหะและกำเดา –ซึมมัว กระหายน้ำ หนาว ขมปาก

18.ไข้สันนิบาต – ไอแห้ง หอบ มีเสมหะ เล็บมือเล็บเท้าสีเขียว

19.ลักษณะไข้แห่งปัถวี – ล้มลงไข้ใน1และ สองวัน อาการ เชื่อมมึน ไม่ได้สติ ไม่ถ่าย กินไม่ได้ อาเจียนมาก 10-11 วันตาย

20.ลักษณะไข้แห่งวาตะ –ล้มไข้ลงใน 3-4วัน อาการ นอนสะดุ้ง ไม่ได้สติ เรอ อาเจียน มือเท้าเย็น หาย1 ตาย2 ถ้า 9-10 วัน ตาย

21.ลักษณะไข้แห่งอาโป – ล้มไข้ลงอยู่ใน 3-4 เวลา ท้องเดิน อุจจาระ ปัสสาวะเป็นเสมหะและโลหิต  เป็น 8-9 วันตาย

22. ลักษณะไข้แห่งเตโช-ล้มไข้ลงใน 3-4 วัน ตัวร้อนทั่วร่างกาย ทั้งภายในภายนอก ทุรนทุรายกระสับกระส่าย ลิ้นแห้งคอแห้ง เป็น 7-8 วันตาย

23. กลุ่มไข้เอกโทษ ทุวันโทษ ตรีโทษ และไข้สันนิบาต

 

ป่วง 8 ประการ (เห็นเยอะอย่างนี้ก็ออกสอบ 1 ข้อจ๊ะ)

1. ป่วงงูบิดตัว อาเจียน ท้องเดิน

2.ป่วงลิงยิงฟัน หาว คางสั่น แน่นหน้าอก อาเจียนท้องเดิน

3.ป่วงลมลมเสียดแทงมาก ท้องเดิน จุกแน่นหน้าอก

4.ป่วงศิลา-รักษายาก ท้องเดิน อาเจียน ปวดข้อ มือเท้าบวม พูดไม่ชัด  ลักษณะเหมือนมีปิศาจสิง

5.ป่วงลูกนก-ท้องเดิน อาเจียน ขนลุก ตัวสั่น ปวดท้อง ท้องลั่น หาว เรอ อาการเช่นลูกนก

6.ป่วงเลือดถ่ายเป็นเลือด หาว หอบ เหนื่อย เพ้อ

7. ป่วงน้ำท้องเดินเป็นน้ำ อาเจียนไม่หยุด ตัวซีด รู้สึกหนาวแต่ตัวอุ่น

8.ป่วงโกศ-เพราะลมกษัยกร่อน ท้องเดิน อาเจียน ร้อนลำคอ มือเท้าซีด

 

ตำรายาแก้สันนิบาตสองคลองและอหิวาตกโรค

1.ยาแก้สันนิบาตสองคลอง

2.แก้ชัก

3. ยาประจุ

4.ยาชื่อสุริย์ฉานอุทัย

5.ยาประจุไข้ ชื่อ แก้วมณีโชติ

6.ยาบำรุงธาตุ ชื่อ จอมจัตุธาตุ

7.ยาแก้อหิวาตกโรค : มหาระงับ

 

โรคภัยต่าง ๆ แห่งกุมาร กุมารี

1. ลมซาง-ลมที่ทำให้เกิดโทษในเด็ก

-อุทรวาต –เกิดเมื่ออยู่ในครรภ์ แม่จุกเสียดแทงหน้าแทงหลัง คลอดแล้ว ลมพัดในท้องพัดไปในเส้น แถวสันหลังขึ้นกระหม่อม เลี้ยงยาก 3 เดือนหาย

-ตะบองราหู – ทารกซูบผอม ท้องขึ้น อาเจียน ชัก กำมือ

-ลมวาตภักษ์ – ข้างขึ้นตาย ข้างแรมรอด คลอดนอนหงาย เลือดแม่เข้าในปาก ทำให้เกิดโรคต่างๆ

-ลมกุมภัณฑ์ ลมบาทยักษ์ – ไข้จากพิษเสี้ยนหนามบาดแผล อาการกัดฟัน ชัก มือกำ

-ลมจำปราบ – พิษดั่งงูกัด ดิ้น ตัวเย็น ขนลุก เขียวคล้ำทั้งกาย

-ป่วงงู-เหมือนลมปราบ แต่ตัวสีแดง ท้องเดิน อาเจียนรุนแรง

-ลมหัสดี- เหงื่อไหล  ท้องขึ้น เย็นชาเท้าถึงเข่า มือกำ จับตอนเช้าโทษถึงตาย

แพทย์เร่งรักษา ห้ามอาบน้ำตอนเช้า+เย็น ยารสสุขุม ห้ามวางยารร้อน

2.ปักษี มี 4 ชนิด นนทปักษี, เทพีปักษี, กาฬปักษี,อสุนนทปักษี

3.หละ ละอองหละ คือ เม็ดที่ขึ้นตามเพดานและกระพุ้งแก้มในปากเด็ก ,ละออง เป็นฝ้าในปาก เพดาน (ออกสอบเช่นกันจ๊ะ ผู้จัดทำก็ทำไม่ได้ อิอิ)

-หละอุทัยกาล- เม็ดขึ้นสีแดง ตัวร้อน ถีบเท้า ไม่ถ่าย กรอกตากลับ ชักเท้ากำมือ

-ละอองไฟฟ้า – สีแดงดั่งชาติ มีพิษมาก ลิ้นกระด้างคางแข็ง ตาเหลือก ตัวร้อน รักษาไม่หายตายในครึ่งวัน

-หละเนระกันถี-เม็ดสีเขียว เห็นเส้นเลือดผ่านในยอด ขึ้น 5วัน เสียงแหบ ปากแห้ง ท้องขึ้น ท้องเดิน

-ละอองแก้วมรกต-ฝ้าสีเขียวสดดังใบไม้ เขียวทั้งหน้า ลิ้น+คางแข็ง รักษาไม่ทันตายในครึ่งวัน

-หละแสงพระจันทร์-เม็ดสีเหลืองใส ท้องเดิน ตัวเย็น ร้องไห้ไม่มีน้ำตา

-หละกาฬสิงคลี-สีขาว อีก1-2วันสีเหลือง พอ5-6วันท้องเดิน กระหายน้ำ เชื่อมมึน ผิวหน้าสีเหลือง ไม่หายตายใน 7วัน

-หละนิลกาฬ-ยอดสีดำ พิษมาก เจ็บทั่วกาย หายใจไม่สม่ำเสมอ  พอ2วันอาการรุนแรง ยอดขึ้นขากรรไกร+ที่ตะโพก ครบ 3 วันตายครึ่งตัว ขยับตัวไม่ได้ ร้องไม่ออก

-ละอองมหาเมฆ-สีแดงดังดอกตระแบกช้ำ เวลาทำพิษ หน้าดำ ไม่ถ่าย ไม่ฉี่ ชักมือชักเท้า ให้ยาไม่ทันถึงตาย

 

ซาง – โรคเด็กประเภทหนึ่ง อาการ ตัวร้อน เชื่อมซึม ปากแห้ง อาเจียน กินอาหารไม่ได้ มีเม็ดขึ้นในปาก คอ ลิ้นเป็นฝ้า (ออกสอบทั้งเวช 1 และเวช 2)

1.อาทิตย์ – ซางไฟ อาการ ถ่ายเป็นมูกเลือด อยากกินของสดของคาว ซูบผอม ตาโรย ไม่มีกำลัง  มีเม็ดขึ้นในจมูก โคนลิ้น คอแห้งเบื่ออาหาร

2.จันทร์- ซางน้ำ (พยาธิ สันตาธาตุ) อาการ ท้องขึ้น ตัวเย็น ท้องผูก ขัดเบา เป็นนิ่ว ฉี่สีขาวเรื้อรัง ไม่อยากอาหาร ล่วง3 เดือน มักถ่ายเป็นเลือด ตับโต ผอม เกิดลมอุทรวาต ยากรักษา

3.อังคาร-ซางแดง (พยาธิ พลพะหะ) อาการ ดานเสมหะ จับไข้เป็นเวลา มือเท้าเย็น ตัวร้อน  เกิดพยาธิตัวใหม่ พรหมสรกิจ เกิดในลำไส้ดังตัวไร ปากดำ กินไม่รูอิ่ม ถ่ายเป็นส่าเหล้า ผม หอบ ล่วง3เดือน ถ่ายเป็นน้ำล้างเนื้อ ถึงมูกเลือด ปวดมวนท้อง ผิวสาก ผุดเม็ดทั่วร่างดังผดหัด

4.พุธ-ซางสะกอ (พยาธิ อุทราธาตุ) อาการ เกิดในท้อง กำหนด 7 วัน โทษดังฝีอัคนีสัน ถ่ายเป็นเลือดสด โรครุนแรงถึงตับ ปอดหัวใจพิการ พ้น 1 เดือน ยากรักษา

5.พฤหัสบดี-ซางโค (พยาธิ กาลธาตุ) แรกเกิดเม็ดผื่นทั่วตัวดั่งหัด ยอดไม่มีน้ำ  9 วัน จมเข้าใน ท้องเดินดังน้ำล้างเนื้อ อยากกินของคาว ล่วง 2 เดือน เกิดที่โคนลิ้น ลิ้นแข็ง ไม่หาย ไปถึง 6 เดือน ซางที่จมเป็นเจ้าเรือน ผื่นยอดแดง มึน หอบ ยากรักษา

6.ศุกร์ – ซางช้าง (พยาธิ สุจิมุข) อาการ ถ่ายพิการหยาบ อยากกินของเค็มคาว ถูกยาก็ดี เป็น ๆ หายๆ ระยะท้าย ผุดเป็นหัวทั่วตัว ขึ้นตา ตาเหลืองตาฟาง ซูบผอม หงอย ท้องโต พยาธิในลำไส้เต็มไปหมด เมื่อตัวพยาธิแก่ จะอาเจียนออกทางปากทางทวาร กำหนดตายใน 10 วัน

7.วันเสาร์-ซางโจร (พยาธิ สันตุกะ) เกิดจากทารกหกล้ม เกิดไข้ ตัวร้อน มือเท้าเย็น ผุดเป็นเม็ดยอดดังหัดทั่วตัว กลับจมข้างใน ให้ท้องเดิน บิด ปวดมวนท้อง หอบ กระหายน้ำ กินไม่ได้ รักษาได้น้อย ตายมากกว่า

 

ลักษณะธาตุ 4 พิการในทารก

เตโชธาตุพิการเกิดจากวาโย อาการจุกเสียด หายใจไม่อิ่ม มือท้าบวม กินไม่ได้ ท้องเดิน กระหายน้ำ ถ่ายพิการดังน้ำล้างเนื้อ หากแห้ง คอแห้ง

วาโยธาตุพิการ-อาการหูตึง หูน้ำหนวก ตาฟาง เมื่อยมือเท้า สันหลังฟกบวม อาเจียนลมเปล่า ท้องเดิน โทษ7วันตาย

อาโปธาตุพิการ – เกิดจาก ดี โลหิต เสมหะ ทั้ง 3 นี้

ดีพิการ-ดีแตก  สาเหตุ 4 ประการ –ผีร้าย , ผู้ขึ้นที่ขั้วตับ,  พิษไข้,  ถูกพิษต่าง ๆบาดเจ็บ

โลหิตพิการ-กินของแสลง ท้องเดินเป็นเลือดจาง บิด ปวดมวนท้อง แน่นอก อาเจียน เท้ามือกำ ชักตาเหลือก

เสมหะพิการ-เสมหะในลำคอ (ศอเสมหะ),ทรวงอก (อุระเสมหะ), ทวารหนัก (คูถเสมหะ)

ปัถวีธาตุพิการ – ออกจากร่างกาย ป่วยมาช้านาน อาหารเก่าไม่หมดสิ้น เมื่อจะสิ้นอายุ มักท้องบิดเป็นเลือด หนอง มูก กลิ่นเหม็นเน่า ผอม ชีพจรแผ่วเบา ตายใน 3 วัน 7 วัน

……………………………………………………

คัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์

 

ลำบองราหู –โรคชนิดหนึ่งที่เกิดกับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 12 เดือน อาการเป็นเม็ดตามตัว ดังนี้

1.ลำบองราหูเกิดในเดือน 5-ร้อน ท้องขึ้น ท้องพอง เพราะ เตโช จับข้างขึ้นตาย ข้างแรมไม่ตาย

2.ลำบองราหูเกิดในเดือน 6 – มือเท้าเย็น ท้องขึ้น ตาเหลือง หลังแข็ง จับข้างขึ้นตาย ข้างแรมไม่ตาย

3.ลำบองราหูเกิดในเดือน 7 – บิดตัว กำมือ ตาเหลือก จับข้างขึ้นตาย ข้างแรมไม่ตาย

4.ลำบองราหูเกิดในเดือน 8 – ปากเปื่อย ยิงฟัน จับข้างขึ้นตาย ข้างแรมไม่ตาย

5.ลำบองราหูเกิดในเดือน 9 – สะท้านหนาว มือเท้าหด จับข้างขึ้นตาย ข้างแรมไม่ตาย

6.ลำบองราหูเกิดในเดือน 10-ตัวร้อนดังเปลวไฟ สะดุ้งร้อง จับข้างขึ้นตาย ข้างแรมไม่ตาย

7.ลำบองราหูเกิดในเดือน 11– จับราวนมและรักแร้ อ้ารักแร้ เอามือลูบอก ร้อนดิ้นดังขาดใจ 3 วันตายจับข้างขึ้นตาย ข้างแรมไม่ตาย

8.ลำบองราหูเกิดในเดือน 12-ชัก ตัวเป็นเหน็บ ไม่มีสติ ร้องไม่ออก จับข้างขึ้นตาย ข้างแรมไม่ตาย

9.ลำบองราหูเกิดในเดือน 1-กระทำพิษเจ็บทั่วขุมขน ขนลุก ผื่นขึ้นทั้งตัวสะดุ้งร้อง จับข้างขึ้นตาย ข้างแรมไม่ตาย

10.ลำบองราหูเกิดในเดือน 2 – จับลำคอ อ้าปากร้อง กลืนน้ำข้าวนมไม่ได้ จับข้างขึ้นตาย ข้างแรมไม่ตาย

11.ลำบองราหูเกิดในเดือน 3 – ท้องขึ้น ท้องพอง ร้องให้ดังขาดใจ จับข้างขึ้นตาย ข้างแรมไม่ตาย

12.ลำบองราหูเกิดในเดือน 4 – ตาเหลือง กำมือ เคลื่อนไหวตัวไม่ได้ ตัวแข็งจับข้างขึ้นตาย ข้างแรมไม่ตาย

 

ลักษณะกำเนิดซาง (ดูเพิ่มเติมในหน่วยที่ 6)

 

สรุปลักษณะกำเนิดซาง

วันเกิด ซางเจ้าเรือน ซางจร หละ ละออง ลม
อาทิตย์ ซางเพลิง ซางกราย อุทัยกาล เปลวไฟฟ้า ประวาตคุณ
จันทร์ ซางน้ำ ซางฝ้าย แสงพระจันทร์ แก้ววิเชียร
อังคาร ซางแดง ซางกระแหนะ เพลิงกัลป์ แก้วมรกต อุทรวาต
พุธ ซางสะกอ ซางกะตัง นิลเพลิง สุนทรวาต
พฤหัสบดี ซางโค ซางข้าวเปลือก นิลกาล มหาเมฆ หัศคินี
ศุกร์ ซางช้าง ซางแกลบ แสงพระจันทร์ เนียรกรรดี อริศ
เสาร์ ซางโจร ซางนางริ้น มหานิกาล ทับ ภัณฑยัก

 

ลักษณะสันนิบาต

1.ลักษณะสันนิบาตกะตัดศีรษะด้วน – ชายตับโตคับโครง ตับหย่อน จับไข้ให้ตัวเย็น ท้องขึ้นท้องพองพะอืดพะอม

2.ลักษณะสันนิบาตทุวันโทษ-เกิดแต่กองสมุฏฐาน 6 ประการ ประชุมพร้อมกัน

3.ลักษณะสันนิบาตเจรียงอากาศ-ผิวหน้า ฝ่ามือเหลืองดุจทาขมิ้น เวียนหัว เจ็บตา กระหายน้ำ นอนไม่หลับ

4.ลักษณะสันนิบาตเจรียงพระสมุทร-ผิวเนื้อขาวซีด(ดังทาดินสอพอง)+ชา  สาก หนักมือเท้า เจ็บทุกชิ้นเนื้อ

5.ลักษณะสันนิบาตบังเกิดเพื่อเสมหะ-จับเป็นเวลา คอแห้งถึงอก ปากฟันแห้ง ลิ้นเปื่อย สะบัดร้อนหนาว

6.ลักษณะสันนิบาตบังเกิดเพื่อวาตะ-จับนิ่ง พอฟื้น ชักเท้ากำมือ  สะทกทั้งตัว ตัว+มือ+เท้าเย็น ร้อนในอก

7.ลักษณะสันนิบาตบังเกิดเพื่อโลหิต-เจ็บแต่รากขนถึงหู จับแก้วตา ตามืด พิษแล่นเข้าหัวใจ สลบดุจตาย

 

ลักษณะเบญจกาฬสันนิบาต 5ประการ

1.อภิฆาตสันนิบาต – เกิดจากถูดเบียดเบียนจากผู้อื่น เช่น ทุบ ถอง อาการปวดหัว ท้องเดิน ทานอาหารมิได้

2.อภิวาราภัยสันนิบาต – เกิดจากเพียรทำงาน ทรมานกาย

3.อภิสังคสันนิบาต – เกิดจากขัดแค้นเคือง เจ็บช้ำน้ำใจ แล้วอาเจียรเป็นโลหิต

4.วิสมสันนิบาต –  อาหารเป็นพิษ

5.อาคันตุกสันนิบาต – ว่าด้วยลักษณะสันนิบาต อันบังเกิดในที่สุดกำหนดแห่งสมุฏฐานคือ 29 ราตรีนั้นยังไปบ่มิได้สำเร็จ และสมุฏฐานโรคเจือระคนมา (ศึกษาเพิ่มเติมในคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย)

 

ลักษณะสันนิบาตอันบังเกิดในกองสมุฏฐานมี 4 ประการ (ออกสอบคะ)

1.ลักษณะสันนิบาติเกิดเพื่อดีซึม

2.ลักษณะสันนิบาติเกิดเพื่อดีพลุ่ง

3.ลักษณะสันนิบาติเกิดเพื่อดีล้น

4.ลักษณะสันนิบาติเกิดเพื่อดีรั่ว

 

ลักษณะอภิญญาณธาตุ (กำเริบ หย่อน พิการ)

1.ธาตุปัถวี – อาการ เสมหะเน่า เจ็บท้องท้องขึ้น อัมพฤกษ์ กระษัย ช้ำเนื้อ ถ่ายเป็นเลือด กินอาหารไม่อยู่ท้อง

2.ธาตุอาโป – อาการ ท้องเดิน เจ็บอก  กร่อน ขัดถ่าย ขัดฉี่ นอนไม่หลับ ขัดหัวเข่า ปวดท้อง พรรดึก

3.ธาตุเตโช – อาการ ร้อนปลายมือปลายเท้า มีพิษเจ็บปวด ดุจปลาดุกยักษ์ หลังมือบวม ผื่นขึ้น เจ็บท้อง

4.ธาตุวาโย – อาการ ตาเป็นหิ่งห้อยกระจายออก เมื่อยมือเท้า ตะคริว ลมจับโปง ขัดหัวเข่า เมื่อยสันหลัง

 

ลักษณะอสุรินทัญญาณธาตุ

1. ลักษณะสมธาตุ –มากไปด้วยกองสรรพธาตุ

2. ลักษณะวิสมธาตุ – มากไปด้วยกองวาโยมีกำลัง

3. ลักษณะกติกธาตุ – มากไปด้วยสรรพพิษทั้งปวง

4. ลักษณะมันทธาตุ – มากไปด้วยเสมหะมีกำลัง

 

เพื่อน ๆ ศึกษาศัพท์ท้ายบทด้วยนะคะ

 

แบบประเมินผล

1.ผู้เรียบเรียงคัมภีร์ฉันทศาสตร์ขึ้นใหม่คือใคร

ตอบ พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม)

 

2.ซางทับกำเดา อาการก่อนเกิดทับมีอาการอย่างไร

ตอบ เด็กมีไข้ ไอ ปวดศีรษะ ตัวร้อนดังเปลวไฟ นอนสะท้อน ถอนใจใหญ่ หายใจสั้น ปากคอแห้ง นอนหลับแล้วมีอาการหวาดผวา

 

3.ไข้เพื่อกำเดา เกิดจากปิตตะสมุฐานกำเริบ ทำให้มีอาการอย่างไร

ตอบ ปวดศีรษะมาก ตัวร้อนดังเปลวไฟ ตาเหลือง ปัสสาวะเป็นสีแดง อาเจียน

 

4.ไข้ทุวันโทษวาโยและเสมหะ มีอาการอย่างไร

ตอบ มีอาการสะบัดร้อนสะบัดหนาว วิงเวียน เหงื่อตก ปวดศีรษะ ตามัว กินอาหารไม่ได้

 

5.ธาตุปฐวีหย่อน มีอาการอย่างไร

ตอบ เจ็บปาก เจ็บในก้อนเนื้อ เจ็บเส้นเอ็น หัวใจ ผิวหนังแตกระแหง

 

6.ธาตุเตโชกำเริบมีอาการอย่างไร

ตอบ ปวดมึนศีรษะ น้ำตาไหลไอแห้ง ๆ

 

7.ซางประจำวันอังคาร มีชื่อว่าอย่างไร

ตอบ ซางแดง

 

8.คัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์ กล่าวถึงอะไร

ตอบ ลักษณะลำบองราหูที่เกิดในเดือนต่าง ๆ

 

9. ลักษณะสันนิบาตเจรียงอากาศ มีอาการอย่างไร

ตอบ ผิวหน้า ฝ่ามือเหลืองดุจน้ำขมิ้น เวียนศีรษะ เจ็บแสบในตา ในอก ปัสสาวะมีสีเหลือง ดุจน้ำรักแก่

 

10. ลักษณะอภิญญาณธษตุ ธาตุอาโป กำเริบ หย่อน พิการ มีอาการอย่างไร

ตอบ มีอาการท้องเดิน เจ็บหน้าอก กลายเป็นกล่อน ขัดอุจจาระปัสสาวะ ปวดท้อง ท้องผูกเป็นพรรดึก

 

หมายเหตุ : ขอโทษที่หายไปนานนะคะ งานยุ่งมาก ๆ แถมบทนี้เนื้อหาโคตรเยอะเลย ก่อนสอบไม่มีเวลาย่อเลย  เพิ่งได้ย่อนี่เอง (เตรียมทบทวนเพราะลงปฏิบัติเวชกรรมด้วย)  เห็นเนื้อหาเยอะอย่างนี้ ข้อสอบออกเกือบทุกหัวข้อเลยคะ (อาจารย์ไม่เคยปราณี) ผู้จัดทำบอกตำแหน่งข้อสอบเท่าที่จำได้นะคะ  แต่ของเพื่อน ๆ อาจออกมากกว่านั้นก็ได้ กรุณาอ่านในหนังสือก่อน ดูสรุปย่อนะคะ ผิดพลาดประการใดแจ้งใน Facebook ได้คะ

แบ่งปันข่าวสาร Like & Share ให้ด้วยนะค่ะ