ติวเวชกรรมแผนไทย 1 มสธ หน่วยที่ 9

ติวเวชกรรมแผนไทย 1 มสธ หน่วยที่ 9

หน่วยที่ 9

คัมภีร์ตักศิลา

 

คัมภีร์ตักศิลา –การเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ในเมืองตักกะศิลา สาเหตุไข้จาก ไข้พิษ  ไข้กาฬ และไข้เหนือ หลักการรักษาและข้อห้าม

 

ข้อห้าม ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้เหนือ คือ ไม่วางยาร้อนเผ็ด  เปรี้ยว  ห้ามประคบนวด ห้ามปลอยปลิง ห้ามกอกเอาโลหิตออก ห้ามถูกน้ำมัน ถูกเหล้า ห้ามอาบน้ำร้อน ห้ามกินส้มมีควันมีผิว กะทิ น้ำมัน (ออกสอบจ๊ะ)

 

ไข้พิษ 21 ชนิด

1.ไข้อีดำอีแดง-ผุดเป็นแผ่น 1-2นิ้วเท่าใบพุทรา / เท่าใบเทียนทั่วตัว มีสีแดง ดำ แดงจะเบากว่าดำ มีไข้ ปวดหัว

2.ไข้ดาวเรือง-ผุดเหมือนลายโคมครึ่งลูก มือเท้าเย็น ตัวร้อน ตาแดง ปวดหัว

3.ไข้กระดานหิน-ผุดทั่วตัว เหมือนลมพิษผลตำลึงสุกเป็นเม็ดๆเหมือนผดแล้วดำลงเนื้อ+คัน สะบัดร้อนสะบัดหนาว ปวดหัว ตาแดง มือ+เท้าเย็น ลิ้นกระด้างคางแข็ง

4.ไข้ปานดำปานแดง-ผุดขนาด 6-7 ซม. สีน้ำเงินคล้ำ สีม่วงคล้ำ สีดำดังหมึก มือ+เท้าเย็น ตัวร้อน ปวดหัว

5.ไข้มหาเมฆมหานิล-ผุดไม่หมดมีลักษณะเท่าผลจิงจ้อสุก ผุดขึ้นทั้งตัวสีดำดังเมฆ สีดำนิล

6.ไข้สังวาลพระอินทร์-ผุดเป็นเม็ดแดงๆ เป็นแถว หญิงซ้าย ชายขวา สะพายแล่งคล้ายสังวาล สะบัดร้อนหนาว

7.ไข้สายฟ้าฟาด-ผุดเป็นริ้วทั้งหน้าทั้งหลัง ขนาดนิ้ว-2นิ้ว สีแดงดังผลตำลึง เขียวดังสีคราม สีผลลุกหว้าสุก พิษร้อนในกระหายน้ำ ปากขม ปากฟันแห้ง ตัวร้อน

8.ไข้ไฟเดือนห้า-ผุดที่อกดำ แดง สีดังเปลวไฟ ร้อนในอก ร้อนใน

9. ไข้เปลวไฟฟ้า- จับที่หน้า จมูกดำ อกดำเป็นสีควัน ทำพิษให้ร้อน ร้อนเป็นไฟ ปากลิ้นฟันแห้ง

10.ไข้ข้าวไหม้น้อย- ผุดเป็นแผ่นทั่วตัว ยอดแหลมขาวๆ ตัวร้อน มือเท้าเย็น

11.ไข้ข้าวไหม้ใหญ่-ผุดเป็นแผ่นทั่วตัว ยอดแหลมขาวๆ สะบัดร้อนหนาว ปวดหัว ตาแดง

12.ไข้เข้าไหม้ใบเกรียม-ผุดขึ้นดังลมพิษผลตำลึงสุกเป็นแผ่นทั้งตัว ใหญ่1,2,3นิ้ว เป็นเม็ดเล็กๆ ถ้าคลายจากพิษผุดขึ้นเป็นทิวกลับดำเป็นหนังแรด อยู่ 6 เดือนตาย

13.ไข้หงส์ระทด-ไม่มีผุด แต่ตัวเกรียมไหม้ทั้งตัว ตัวร้อน มือเท้าเย็น

14.ไข้จันทรสูตร-เหมือนไข้หงส์ระทด แต่อาการมากขึ้นเมื่อพระจันทร์ขึ้น

15.ไข้สุริยสูตร-เหมือนหงส์ระทด แต่อาการมากขึ้นเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น

16.ไข้เมฆสูตร-เหมือนหงส์ระทด แต่อาการมากขึ้นกับครึ้มเมฆฝน (ออกสอบ)

17.ไข้ดานหิน-ขึ้นต้นขาทั้งสองข้าง วงเขียวบ้าง ผลสีหว้า สีคราม สีผลตำลึงสุก หรือสีหมึก ตัวเย็นดังหิน ให้ร้อนใน

18.ไข้ระบุชาด-ผุดเป็นเมล็ดเท่าเม็ดผักปลัง เท่าเมล็ดเทียน เท่าเมล็ดงา อยู่เป็นกลุ่มๆ  โตเท่านิ้วสองนิ้วสีดังชาด ยอดฐานทั่วตัว

 

(จากจุดนี้ไปให้เครดิต  คุณมะลิ   คะที่ย่อไว้ให้)

ไข้รากสาด 9 จำพวก    เพิ่มจากไข้พิษไข้กาฬ คือ  ชักมือเท้ากำ เหมือนปีศาจเข้าสิง ถ่าย ไอ อ้วกเป็นโลหิต ขึ้นเป็นลายต้นกระดาษ ลายงูลายสาบลายสายเลือด ลายดีบุก อาการของไข้รากสาดเหมือนกันต่าง กันที่ สีของการผุด
1.ไข้รากสาดปานขาว กินพุทรากับน้ำข้าวเช็ด
2.ไข้รากสาดปานแดง กินถั่วเล็ก สีแดงที่วางเป็นหมู่
3.ไข้รากสาดปานเหลือง ผิวลิ้นเหลือง มีเม็ดเล็กๆ
4.ไข้รากสาดปานดำ กินงบน้ำอ้อยสีดำ ขึ้นทั้งตัว
5.ไข้รากสาดปานเขียว ขึ้นเป็นหมู่ลิ้น ตัวเขียว
6.ไข้รากสาดปานม่วง กินปลังสุก จนตาย
7.ไข้รากสาดนางแย้ม มีเม็ดเล็กชอบนางแย้ม
8.ไข้รากสาดพนันเมือง ริ้วปลิงสีดำดินหม้อ ทั่วตัว
9.ไข้รากสาดสามสหาย เม็ดเล็กเหมือนเท้าสุนัข

ไข้ประดง ( ไข้กาฬแทรกไข้พิษ ) มี 8 จำพวก
อาการ คล้ายไข้พิษไข้กาฬ แต่ไม่มีไอ อ้วกขี้เป็นเลือด  มีปาก ขม เปรี้ยว หวาน ปากคอ ลิ้นแห้ง
1.ไข้ประดงมด มดกับยุงกัดคันทั้งตัว แถมแสบร้อน
2.ไข้ประดงช้าง ช้างผิวเป็นผิวมะกรูด ปวดแสบร้อนคัน
3.ประดงควาย ควายเห็นเงาหนอง ลงแล้วแสบร้อน
4.ไข้ประดงวัว วัวกินมะยมสุก ลงแล้วแสบร้อน
5.ไข้ประดงลิง ลิงกินข้าวสารคั่ว ลงแล้วแสบร้อน
6.ไข้ประดงแมว แมวกินตาปลา ลงแล้วแสบร้อน
7.ไข้ประดงแรด แรดหนังหนาเหมือนหนังตัวเอง สีดำเป็นเกล็ด ลงให้แสบร้อน
8.ประดงไฟ เม็ดแดง ยอดดำ (เหมือนไข้ระบุชาด)มีโอกาสรักษาหาย

 

ไข้กาฬ 10 จำพวก
1.ไข้ประกายดาษ ผุดเหมือนฝีดาษ อาการเหมือนไข้ดานหิน
2.ไข้ประกายเพลิง ผุดเป็นเม็ดทราย อาการเหมือนประกายดาษแต่เพิ่มร้อนเหมือนไฟลวก
3.ไข้ออกหัด ผุดเม็ดทรายมียอดแหลม เชื่อมมัว สะท้านร้อนหนาว
4.ไข้ออกเหือด อาการและการผุดเหมือนกันแต่ไม่มียอดแหลม
5.ไข้งูสวัด เม็ดทรายเป็นแถว พองมีหนอง หญิงซ้ายชายขวาข้ามสันหลังตาย ปวดหัว สะบัดร้อนหนาว
6.ไข้เริมน้ำค้าง ผุดเป็นแผ่นเป็นกลุ่มใส เพิ่มเชื่อมมัว
7.ไข้เริมน้ำข้าว เม็ดสีขุ่น อย่างอื่นเหมือนกันกับเริมน้ำค้าง
8.ไข้ลำลาบเพลิง ผุดขึ้นแผ่น อาการเหมือนกับเริมน้ำค้าง ถ้าน้ำเหลืองแตกตาย
9.ไข้ไฟลามทุ่ง ผุดแผ่นเหมือนกับลำลาบเพลิง แต่อาการไปเร็วกว่า
10.ไข้กำแพงทะลาย ผุดหัวเดียวพังกำแพง เพิ่มร้อนในฟกบวมทำพิษมากถ้าน้ำเหลืองแตกตาย

ฝีกาฬ (เกิดในไข้พิษ)  10  ประการ
1.ไข้ฟองสมุทร เป็นในปาก ลิ้นเพดาน ผุดเท่าเมล็ด งา ถั่ว ปลังสุก ถั่วดำ ลักษณะเป็นหลังเบี้ย
สะท้านร้อนหนาว ร้อนใน เชื่อมมัว กินข้าวน้ำไม่ได้
2.ไข้เลี่ยมสมุทร เกิดที่ริมฝีปากทั้งสองข้าง เท่าถั่วดำ
3.ไข้ทามสมุทร ข้างลิ้น ขากรรไกร ไรฟัน ต้นลิ้น บวมยาวตามอวัยวะ สะท้านร้อนหนาว เชื่อมซึม
4.ไข้ทามควาย ต้นกรามทั้งสองข้าง ลักษณะยาวเหมือนตัวปลิง  อาการเหมือนทามสมุทร
5.ไข้ละลอกแก้ว ขนาดเท่าปลัง จิงจ้อ ถั่วดำ ถั่วเขียว เงาหนอง
6.ไข้กาฬทูม บวมขากรรไกรทั้งสองหรือข้างเดียว อาการเดียวกับทามควาย เพิ่มร้อนใน
7.ไข้กาฬทาม บวมขากรรไกรถึงคอ อาการเหมือนคางทูม
8.มะเร็งตะมอย ที่ ตัว แขน ขา เท่าหัวแม่มือ จิงจ้อ ฐานหัวดำพิษหนัก อาการเหมือนกับทามสมุทร
9.มะเร็งปากทูม ทีหลังสองข้างหรือข้างเดียว สียอดเขียวเหมือนคราม แก้ไม่หายเป็นมะเร็งปากหมู
10.มะเร็งเปลวไฟ เท่าวงสะบ้ามอญ ยอดเขียว อาการเหมือนถูกไฟไหม้ให้สลบ

 

ฝีกาฬ

กาฬมะเร็งนาคราช   ขึ้นหัวแม่มือทั้งสองข้างหรือข้างเดียว
ถ้ารักษาไม่คลาย มือแขน ดำและตาย ลักษณะเท่าเมล็ดถั่วดำ ถั่วเขียว ปลัง ผลมะยม ผลเอ็น เม็ดหิน เลื่อมเป็นหลังเบี้ย    สะท้านร้อนหนาว เชื่อมมัว ปวดหัว
ไข้กระโดง มี 4 จำพวก
1.ไข้กระโดงไฟ เหมือนเปลวไฟเผา ร้อนใน ปาก ฟัน ลิ้น คอแห้ง
2.ไข้กระโดงน้ำ เชื่อมมัว เอามดแดงมาเคาะก็ไม่รู้สึก
3.ไข้กระโดงแกลบ เหมือนเม็ดทราย คัน แม้นเอาไม้ขูดจนเลือดออกยังไม่หายคัน
4.ไข้กระโดงหิน ขี้เยี่ยวไม่ออก
(ถึงตรงนี้ขอขอบคุณ คุณมะลิ มากคะ)

 

ไข้ช่องสมุทร – เกิดในเพศหญิงและชาย ผุดขึ้นตามช่องอก ตามราวนมเท่าวงสะบ้ามอญ สีเขียว ดำ 2-3 นิ้ว หญิงเป็นซ้าย ชายเป็นขวา

 

ไข้กาฬ 2 ประการ ไข้คด ,ไข้แหงน

อาการไข้สูงตลอดเวลา ปวดหัวรุนแรง อาเจียนมาก คอแข็งแอ่นไปทางหลัง (ไข้แหงน) ,ก้มไปข้างหน้า (ไข้คด) กระสับกระส่าย กลัวแสง เห็นภาพซ้อน อัมพาตแขนขา มีจ้ำเขียวตามผิวหนัง

 

ไข้กาฬแทรกในไข้พิษ 3 ประการ

1.ไข้แม่ตะงาว-เกิดตาม ขาหนีบ ขาด้านใน รักแร้ หลังอก ผุดยาวรีใหญ่ พิษให้สลบ ต้องส่องเทียนดู
2.กาฬตะบองพะลำ – ลิ้นกระด้างคางแข็ง เกิดโรคที่ขาหนีบ ที่ลับ รักแร้ หลัง อก ผุดมายาวรีใหญ่ 1-2 นิว สีแดงดำ
3.ไข้ตะบองชนวน – เกิดบริเวณบั้นเอว  ก้นกบ ขาทั้งสอง  ที่ลับ  ท้องน้อย สัญฐานเรียวเล็กเท่าหวายตะค้าโต1-2นิ้ว สีดำ แดง เขียว

ไข้ละบองกาฬ –ปวดบวมตามข้อตามเกลียวปัตฆาฏ   ผุดตามราวข้างโตเท่าผลมะตูม ตามบั้นเอว ตามข้อ หัวไหล่ ข้อศอก  ปาก ฟัน ลิ้นคอ แห้ง หอบสะอึก ละเมอเพ้อ ร้อนในกระหายน้ำ

(เริ่มไข้หวัด เครดิต คุณมะลิ อีกแล้วคะ)

ไข้หวัดมี 2 ชนิด ไข้หวัดน้อย ไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดน้อย -สะบัดร้อนหนาว ปวดศีรษะมาก ไอ จามน้ำมูกตกแต่ไม่มาก
ไข้หวัดใหญ่- เพิ่มน้ำมูกตกมาก มีอาเจียน มีปาก แห้งเปรี้ยวขม
ข้อแนะนำ ให้คนไข้นอนพักผ่อนให้มากๆ ทำร่างกายให้อบอุ่นโดยใส่เสื้อผ้าหนาๆ อย่าอาบน้ำเย็น อาหารอ่อนย่อยง่ายอยู่ในที่อากาศถ่ายเท
สาเหตุการเกิด
1.     เกิดเพราะฤดู 3 ประการ คือ คิมหัน วสัน เหมัน
2.     อากาศร้อน ถูกน้ำค้าง ถูกละอองฝน

ไข้กำเดา 2 จำพวก
1.ไข้กำเดาน้อย -พวกไข้กำเดาตาจะแดงเป็นหลัก ปวดหัวปากเปรี้ยวขมอาเจียน
2.ไข้กำเดาใหญ่- ปวดหัวมาก ปาก คอ เพดาน ฟัน แห้ง เชื่อมมัว เมื่อย ผุดเป็นเม็ดเหมือนยุงกัด ไม่มียอด ชักมือเท้ากำ เป็นหนักมีเลือดออกทางปากจมูก

ไข้สามฤดู มี 3 ชนิด
1.ไข้ในคิมหันตฤดู เริ่มตั้งแต่ 5-8 ไข้เพื่อโลหิต ใหญ่กว่าลมเสมหะ
2.ไข้ในวสันตฤดู เริ่มตั้งแต่ 9 – 12 ไข้เพื่อลม ใหญ่กว่าเลือดเสมหะ
3. ไข้ในเหมันตฤดู เริ่มตั้งแต่ 1-7 ไข้เพื่อกำเดาและดี ใหญ่กว่าลมและเสมหะ
อาการ ละเมอเพ้อ กระหายน้ำ น้ำลายมาก อยากกินหวานคาว พวกพล่า ปลายำ ต้องวางยาร้อน

คำศัพท์ คัมภีร์ตักศิลา
ตักกะศิลา
– เป็นชื่อของเมืองที่มีการระบาดของโรคไข้เรียกว่าไข้ตักกะศิลาปัจจุบันเรียกไข้กาฬโรค
ห่าลงเมือง– เป็นการเกิดการระบาดของโรคที่ทำให้เกิดอัตราการตายสูง
เปลือกเมืองเปล่า-คือเมืองร้างไร้คน
ไข้เหนือ คือไข้ป่าเรียกว่าไข้จตุดง มี 4 ภาคคือ เหนือ ตะวันออก ตะวันตก ภาคใต้ บางทีเรียกไข้จับสั่น
อาการปวดหัว ท้องผูกหนาวสั่น มือเท้าเย็นพอเช้าจะหายพอกลางคืนเป็นอีก
ไข้พิษ เกิดไข้ในร่างกายมีรอยโรคมาก่อน 1-3 วัน
อาการ ปากฟันแห้งน้ำลายเหนียวมีผุดเป็นแผ่นเม็ดมีสีแดง ดำ เขียวเป็นทรายก็มี ปัจจุบันเรียกว่าภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในเลือด
ไข้กาฬ แยกเป็น 3 อย่างตามอาการ
1.     พิษของโรคที่ตัวร้อนจัดมีเม็ดผุดขึ้นแดงเกิดตาม ปอด ตับ ม้าม ไต ทำให้เกิดเป็นโรคอุจจาระธาตุได้
2.     ตัวร้อนนอนซบเซาเล็บมือเท้าดำ
3.     ไข้มีจุดดำเป็นตุ่มเท่าเมล็ดถั่วเขียว ถั่วดำ หรือเท่าไขไก่

 

แบบประเมินผล

1.ไข้งูตวัด เป็นไข้อยู่ในกลุ่มใด

ตอบ ไข้กำแพงทลาย

 

2.ไข้กระดานหิน เป็นไข้อยู่ในไข้กลุ่มใด

ตอบ ไข้ระบุชาด

 

3.ข้อใดเป็นชนิดของไข้ที่แตกต่างจากพวก

ก.ไข้หวัด

ข.ไข้กำเดาน้อย

ค.ไข้ตาเหลือง

ง.ไข้ออกหัดไข้เหือด

จ.ไข้สามฤดู

ตอบ ไข้ออกหัดไข้เหือด

 

4.ไข้ชนิดใด ที่มีผุดหรือรอยโรคนำมาก่อน 1-3 วันจึงมีไข้และมีอาการร้ายแรงมาก

ตอบ ไข้พิษ

 

5.ตามคัมภีร์ตักศิลาคำว่า “ลอกปอกหมู” มีลักษณะอาการหรืออาการแสดงอย่างไร

ตอบ ผิวหนังชั้นนอกลอกออกเป็นแผ่นเหมือนแผลไฟไหม้

 

6.ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของไข้รากสด ไข้ชนิดใดที่มีอาการร่วมไข้เรื้อรังเกิน 28 วัน มือเท้าเย็น ตัวร้อนเป็นเปลวไฟ ปวดศีรษะมาก ตาแดง

ตอบ ไข้เรื้อรังเกิน 28 วัน เมือเท้าเย็น ตัวร้อนเป็นเปลว

 

7.ข้อใดเป็นข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติตนของการรักษาไข้ในคัมภีร์ตักศิลา

ตอบ ห้ามประคบนวด (ออกสอบ อันนี้จำได้)

 

8.ไข้สังวาลย์พระอินทร์มีลักษณะเด่นของสัณฐานผุดเป็นอย่างไร

ตอบ ไข้ที่มีผุดขึ้นเป็นเม็ดแดงๆ เป็นแถว ๆ ถ้าหญิงขึ้นซ้าย ถ้าชายขึ้นขวา (อันนี้ก็คุ้นน่าจะใช่ที่ออกสอบ)

 

9.ไข้ชนิดใดที่มีอาการรุนแรงของไข้สัมพันธ์กับอากาศ

ตอบ ไข้จัทรสูตร (ออกสอบ ไปดูตั้งแต่ไข้หงส์ระทด-เมฆสูตรด้วย)

 

10. ข้อใดคือความหมายของ “เครื่องกระยาบวช”

ตอบ อาหารที่ไม่มีของสดของคาวเจือปน

 

หมายเหตุ : ขอโทษที่หายไปน๊านนานเลยนะคะ งานเยอะมาก ๆ ผู้จัดทำบอกตำแหน่งข้อสอบเท่าที่จำได้นะคะ  แต่ของเพื่อน ๆ อาจออกมากกว่านั้นก็ได้ กรุณาอ่านในหนังสือให้เข้าใจก่อนนะคะ  แล้วค่อยดูสรุปย่อนะคะ ผิดพลาดประการใดแจ้งใน Facebook ได้คะ

แบ่งปันข่าวสาร Like & Share ให้ด้วยนะค่ะ