ติวเวชกรรมแผนไทย 1 มสธ หน่วยที่ 5

เวชกรรมแผนไทย (ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ท)

เวชกรรมแผนไทย (ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ท)

ติวเวชกรรมแผนไทย 1 มสธ หน่วยที่ 5

หน่วยที่ 5

คัมภีร์โรคนิทาน ธาตุวิภังค์ ธาตุวิวรณ์

1.การตรวจจำเป็นต้องเข้าใจ คัมภีร์โรคนิทาน – การถึงแก่ความตายด้วยปัจจุบันโรคและโบราณโรค ลักษณะกำเริบพิการตามฤดู4  ลักษณะธาตุแตก/พิการ เป็นพื้นฐานเมื่อเกิดการเจ็บป่วย

2.คัมภีร์ธาตุวิภังค์ – สาเหตุการเสียชีวิต ธาตุพิการตามฤดู ลักษณะธาตุ 4 พิการและยา 4 รส เป็นพื้นฐานเมื่อเกิดการเจ็บป่วย

3.คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ – ธาตุทั้ง 4 พิการ ฤดูที่ทำให้พิการ ธาตุ 4 วิปลาส ธาตุ 4 เป็นตรีโทษ มูลของโรค 6 ประการ ยา 8 รส ยาแก้ตามประเทศสมุฏฐาน รสยาแก้ตามสีผิว  ลักษณะประเภทไข้เอกโทษ ไข้ตามยาม อาพาธทั้งห้า

 

(จากตรงนี้ลงไปให้เครดิต “คุณมะลิ” นะคะที่เอาลงใน กระดานมสธ)

คัมภีร์โรคนิทาน ปู่ชีวกโกมารภัจท์ได้กล่าวต่อหน้าฤาษีสิทธิดาบส

ได้กล่าวถึง
1.สาเหตุของบุคคลที่จะถึงแก่ความตาย
2.ลักษณะธาตุกำเริบ พิการ ตามฤดู 4
3. ลักษณะธาตุทั้ง 4 แตก พิการ

1.สาเหตุที่บุคคลถึงแก่ความตายจะแสดงออกทางมโนทวารอินทรีย์ มี 2 ประการ
–  ปัจจุบันโรค ปัจจุบันกรรม คือตายแบบปัจจุบันทันด่วน
–  โบราณโรค ตายตามปกติตามความเจ็บป่วยของธาตุกำเริบหย่อนพิการ

2. ลักษณะธาตุกำเริบตามฤดู 4
1. เดือน 5-7 เตโช สันตับปัคคีพิการ   อาการ   เย็นอก จุกเสียดขัดอก หิวบ่อย  รักษา     ยากาลาทิจร
2. เดือน 8-10 วาโย ชิระนัคคีพิการ แต่น่าจะเป็นกุจฉิสยาวาตา  อาการ   ผอมเหลือง เมื่อยหาวเรอ วิงเวียนรักษา   ยาชิระรัค
3. เดือน 11-1 อาโป กินอาหารผิดสำแดง  อาการ    ถ้าดี ขึงโกรธ หนอง หืดไอ โลหิต คลั่ง มันข้น ตัวชาสาก เหงื่อ เชื่อมซึ่ม มันเหลว บวมมือบวมเท้า ผอมแห้ง น้ำลายพิการคอฟันแห้ง น้ำมูก ปวดหัว ไขข้อเมื่อยทุกข้อ มูตรฉี่แดงขัด
รักษา     ยาแก้อาโปธาตุพิการ
4.เดือน 2-4 ปถวีธาตุ นอนผิดเวลา อาการ ผมพิการ ขนพิการ เล็บพิการ ฯลฯ รักษา ยาแก้ปัถวีธาตุ

3. ลักษณะธาตุทั้ง 4 แตกพิการ (เตโช วาโย อาโป ปถวี)
1. ลักษณะเตโชแตก คือการแตกสูญไปของธาตุ

– ปริณามัคคีแตก  อาการ     ขัดออก บวมมือเท้าไอมองคร่อ
– ปริทัยหัคคีแตก ไฟระส่ำระสาย  อาการ     มือเท้าเย็น ชีพจรไม่เดิน นอกเย็นในร้อน
– ชิระนัคครีแตก ไฟเผาให้แก่  อาการ     หน้าผากตึง จำใครไม่ได้
– สันตัปปัคคีแตก ไฟอุ่นกาย อาการ  ถ้าแตกตายอย่างเดียว

2. วาโยแตก
– อุทธังคมาวาตาแตก  อาการ     มือเท้าขวักไขว่ หาวเรอ
– อโธคมาวาตาแตก  อาการ ยกมือเท้าไม่ไหว เมื่อย
– กุจฉิสยาวาตาแตก  อาการ ท้องขึ้นลั่นเจ็บอก แดกขึ้นลง
– โกฏฐาสยาวาตาแตก   อาการ     เหม็นคาวเรอ อาเจียน จุก
– อังคมังคานุสารีวาตาแตก ลมพัดทั่วกาย  อาการ     หูตึง เมื่อยปวดกระดูก สะบัดร้อนหนาว
– อัสสาสะวาตา ลมหายใจเข้าออก  อาการ ถ้าแตกตายอย่างเดียว

3.อาโป แตก
– ปิตตัง น้ำดี อาการ คลั่งไคล้
– เสมหะ  อาการ  สะบัดร้อนหนาว ลงท้อง เป็นเสมหะโลหิต
-หนองแตก   อาการ     ซูบผอม เป็นฝี
– โลหิตพิการ แตก   อาการ     คล้ายกับมันข้นพิการคือผุดขึ้นเหมือนกำเดา รักษา     ยาปโตฬาธิคุณ(คิมหัน) ยามหาชุมนุม (วัสสานตฤดู)
– เหงื่อ อาการ     เหงื่อตกหนัก ตัวเย็นไม่มีแรง
– น้ำตา อาการ     ตามัว น้ำตาตกหนัก และแห้ง
– มันเหลว อาการ     ตัวเหลือง ตาเหลือง ขี้เยี่ยวไม่เหลือง
– น้ำลาย  อาการ     ปากเปื่อย มักมีเม็ดยอดขึ้นในลิ้น คอ
– น้ำมูก  อาการ     มี 4 ประการ ปวดหัว น้ำมูกตก ตามัว ปวดในสมอง
-มันข้นแตก  อาการ     เหมือนโลหิตพิการ แต่ไม่มีกำเดา
-มูตร  อาการ     ฉี่สีแดง เหลือง นิ่ว

4. ปถวี แตก
ผม เจ็บทุกขุมขน
เล็บ เล็บเขียวดำ เป็นหนอง
ฟัน เจ็บไรฟัน รากฟัน
หนังพิการ อาการ หนัสากชา
เนื้อพิการ เสียวตัวฟกบวม
เอ็นพิการ ขอดเป็นก้อนเถาดาน
กระดูกพิการ รักษายาก
รักษา ยาพรหมภัตรน้อย พรหมภักต์กลาง เยื่อในกระดูก ยาแก้เดียวกันกับแก้กระดูก
ดวงหฤทัยพิการ เสียจริต ขึงโกรธ
รักษา ยามูลจิตใหญ่ ยาประถมสักขระใหญ่ ยาสว่างอารมณ์ ยาสมมิตรวานร ยามหาสดมใหญ่
ตับแตก เพราะโทษ 4 ประการ
1.กาฬผุดขึ้นในตับ
2. ฝีในตับลงเป็นโลหิตสดๆ
3. กาฬมูตร ผุดในตับทำให้ลงเป็นเสมหะ โลหิตเน่า
4. ปถวีแตกเองทำให้หอบไอ
รักษา ยากล่อมนางนอน ยาล้อมตับไม่ให้ตับทรุด
พังผืดพิการ   อาการ อกแห้งกระหายน้ำ ริดสีดวงแห้ง
พุงพิการ  อาการขัดอก ลงท้อง แน่นอก
ปอดพิการ   อาการเหมือน กาฬขึ้นปอด ร้อนอก
ไส้ใหญ่  อาการ กินอาหารผิดสำแดง ขัดอก อาเจียน เรียกว่าไส้ตีบ
ไส้น้อย   อาการ วิงเวียน หาวเรอ จุก
อาหารใหม่ อาการ ร้อนท้อง สะอึก เสียดชายโครง
อาหารเก่าพิการ  อาการทรางขโมย ริดสีดวงคูถ
สมองศรีษะ  อาการ หน้ามืด หูตึง ปวดเหมือนหัวจะแตก เรียกสันนิบาตลมปะกัง
(ถึงตรงนี้ขอบคุณคุณมะลิมากคะ)

 

4. ฤดู 6 ทำให้ธาตุพิการ

  • คิมหันตฤดู เดือน 5-6 เพื่อกำเดา+ดี อาการแสบอก
  • คิมหันตวสันตฤดู 7-8 เพื่อเตโย วาโย กำเดา โลหิต อาการ ปวดมวนกาย
  • วสันตฤดู 9-10 เพื่อวาโยกล้า+เสมหะ อาการ หนักอก หายใจขัด
  • สะระหะฤดู เดือน 11-12 เพื่อวาโย เสมหะ มูตร อาการ ร้อนในทรวงอก ร้านในใส้
  • เหมันตฤดู เดือน 1-2 เพื่อ เสมหะ กำเดาและโลหิต อาการเจ็บหลัง บั้นเอว
  • ศิศิระฤดู เดือน 3-4 เพื่อเลือดลมกำเดา เจือเสมหะ อาการ โรคฟกบวม หูทั้งสองเป็นน้ำหนวก

 

5. ธาตุ 4 วิปลาส (กำเริบ+หย่อนกล้า)

  • กองปัถวีธาตุ อาการโทษสิบสามประการ เกิดเหาและเล็นมาก ไข้ครุ่นเป็นประมาณ ท้องลั่น
  • กองเตโชธาตุ อาการ มักให้ร้อนปลายมือปลายเท้าดุจดังหลาดุกยอก
  • กองวาโยธาตุ อาการ ให้โทษสิบสามประการ เป็นตะคริว เมื่อยตีนมือ หูอื้อ
  • กองอาโป อาการ ให้โทษสิบสองประการ ให้จุกอก ท้อง แปรเป็นกษัยกร่อน

 

6.ธาตุ4 เป็นตรีโทษ

  • ปถวีธาตุในตรีโทษ อาการ 10 ประการ ให้ราก ทรวงอกแห้ง กายแข็งปานท่อนไม้
  • อาโปธาตุในตรีโทษ อาการ 13 ประการ ให้ร่างกายซูบเศร้าหมอง เหงื่อออกมากทั้งตัว ตัวตึงตึงหน้าตา
  • เตโชธาตุในตรีโทษ อาการ 14 ประการ ให้ร้อนในท้อง ไส้พุงพลุ่งพล่าน น้ำเดือนไม่ปาน ตีนมือตาย
  • วาโยธาตุในตรีโทษ อาการ 16 สถาน ให้ผอมเหลือง ร่างกายแห้งซูบหมอง จุกอก

 

7. ลักษณะอาการของโทษ 2 (ทุวันโทษ)

  • เสมหะกับลม อาการ กายชุ่มไปด้วยเหงื่อ เจ็บทั่วทั้งกาย ง่วงนอน
  • เสมหะกับดี อาการปากขม ตัวสั่น พูดพร่ำเพ้อ หนาวๆ ร้อนๆ ไอ
  • ดีกับโลหิต อาการ ใจระทดรุ่มร้อน หมองจิต

 

8. ลักษณะอาการของโทษ 3 (ตรีโทษ)

ปิตตะ  เสมหะ  วาตะ  เกิด มหาสันนิบาต คนไข้จะตาย ด้วยการการ ร้อน กระวนกระวาย ให้เจ็บทั่วตัว เซื่องซึม

 

9. มูลเหตุของโรค 6 ประการ

  • กินอาหารผิดเวลาและอิ่มนัก
  • เสพเมถุนมาก
  • กลางวันนอนมาก
  • กลางคืนนอนไม่หลับ
  • โทสะมาก
  • กลั้นอุจจาระปัสสาวะ

 

10. ผู้ไข้พึงเว้นโทษ 10 ประการ

  • อย่าอาบน้ำ
  • อย่าทาของหอม
  • อย่าเสพเมถุน
  • อย่าขัดสีร่างกาย
  • อย่านอนกลางวัน
  • อย่าทำงานหนัก
  • อย่าเอาโลหิตออกจากกาย
  • อย่าโกนหัว โกนเครา
  • อย่าโกรธให้มาก
  • อย่านอนตากลม
  • อย่ากินของมันคาว

 

แบบประเมินผลตนเอง

1.พระคัมภีร์ที่กล่าวถึงสาเหตุการเสียชีวิตมี 2 ประการ คือ มรณะด้วยโบราณโรค และมรณะด้วยปัจจุบันโรค คือ

ตอบ คัมภีร์โรคนิทาน + ธาตุวิภังค์

2.ลักษณะธษตุกำเริบพิการในเดือน 5  6  7  มักมีสาเหตุมาจากธาตุใด

ตอบ เตโชธาตุ

3. มูลเหตุของการเกิดโรคมาจากกินผักและอาหารทั้งปวงผิดสำแดง เป็นลักษณะธาตุพิการในเดือนใด

ตอบ  11   12  1

4.ยาตรีวาสัง  ใช้แก้อาการเจ็บป่วยใด

ตอบ สมองกระดูกและม้ามพิการ

5.การนอนผิดเวลา มักจะทำให้ธาตุใดกำเริบ

ตอบ ปัถวีธาตุ

6.อาการเจ็บป่วยที่ทำให้ร้อนอกร้อนใจ ให้บวมมือ เท้า ให้ไอเป็นมองคร่อ  ให้ท้องขึ้นท้องพองเกิดจากสาเหตุใด

ตอบ ปริณามัคคีพิการ

7.อาการเจ็บป่วยที่ทำให้โสดประสาทตึง คนเจรจามิได้ยิน เป็นหิ่งห้อยออกจากลูกตา เกิดจากสาเหตุใด

ตอบ อังคมังคานุสารีวาตาพิการ

8.คิมหันตวสันตฤดู เดือน 7  8 สาเหตุที่ทำให้เจ็บป่วย ยกเว้นข้อใด

ตอบ เพื่อเสมหะ

9. อาการเจ็บป่วยทำให้ร่างกายชุ่มด้วยเหงื่อ เจ็บทั่วกาย ง่วงนอน หนักเนื้อตัว เจ็บศีรษะ มักเป็นหวัดและไอ เป็นทุวันโทษคือ

ตอบ เสมหะกับลม

10. ยารุ หมายถึงข้อใด

ตอบ ยาที่ทำให้ถ่ายอุจจาระอย่างแรง

 

หมายเหตุ : วันนี้มาช้าไปหน่อยนะคะงานมันเยอะ ส่วนจะถามว่าข้อสอบออกอะไรจำได้ข้อเดียวในบทนี้ คือ

1.สาเหตุที่บุคคลถึงแก่ความตายจะแสดงออกทางมโนทวารอินทรีย์ มี 2 ประการ
–  ปัจจุบันโรค ปัจจุบันกรรม คือตายแบบปัจจุบันทันด่วน
–  โบราณโรค ตายตามปกติตามความเจ็บป่วยของธาตุกำเริบหย่อนพิการ

นอกนั้นจำไม่ค่อยได้เลยคะ ในส่วนสรุปย่อได้ขอยืมคุณมะลิมาส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งย่อเอง ยังไงเพื่อนอ่านในเนื้อหาก่อนแล้วกันนะคะเดี๋ยวจะไม่เข้าใจ และหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วย (รีบพิมพ์มั๊กๆๆ)

แบ่งปันข่าวสาร Like & Share ให้ด้วยนะค่ะ