ติวเวชกรรมแผนไทย 1 มสธ หน่วยที่ 4

เวชกรรมแผนไทย

เวชกรรมแผนไทย

 

ติวเวชกรรมแผนไทย 1 มสธ หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 4

คัมภีร์วรโยคสาร

คัมภีร์วรโยคสาร แต่งโดย อมรเสกมหาอำมาตย์ เสนาบดี กรุงลังกา

กล่าวถึงคุณสมบัติ+องค์ความรู้ = องค์แพทย์ 30

(แนวทาง ถ้ามีเวลาน้อย อ่านบทตีความเลยจ๊ะ)
องค์แห่งแพทย์มี 30 ประการ
1.ทูตลักษณะ- ผู้ที่ถูกใช้ให้มาตามหมอไปรักษาคนไข้
2.นิมิต-สิ่งที่หมอสังเกตุเห็นระหว่างทางไปรักษาคนไข้
3. ในองคลักษณะ- สังเกตุอาการคนไข้เมื่อมีการเสกคาถา
4.ในสุบินลักษณะ- ขอนิมิตฝัน (เทพนิมิต) ฝันดี – อาโรคยาสุบิน
5.ในอริฐลักษณะ -สังเกตุอินทรีย์ 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (การสังเกตสิ่งผิดปกติของประสาทสัมผัสทั้ง5)
6.ในอาโรคลักษณะ –หมอสังเกตุดูสภาวะจิตใจและร่างกายคนไข้ที่จะรักษาให้หายโดยง่าย
7. ในวิปริตลักษณะ องค์ประกอบสำคัญในการรักษา (ตัวนี้ออกสอบจ๊ะจำได้)
1. หมอ     2. ยา     3. คนไข้     4. คนพยาบาล

8. ในอภิสังคสัมปัตติลักษณะ – องค์ประกอบหมอที่ดี  1. ได้ศึกษาวิชาแพทย์ในสำนักอาจารย์ 7 คน   2. มีวิชาแพทย์อันได้เรียนรู้วิชาโดยชัดเจน   3. ฉลาดรักษาโรค    4. ไม่อาลัยแก่ลาภ มีกายวาจา+ใจบริสุทธิ์
 9. ในไภสัชชสัมปัตติลักษณะ –การเก็บยาเพื่อให้ได้ยาสรรพคุณดี : สิสิระฤดู คิมหัน เก็บราก ,  เหมัน     เก็บแก่น
ฤดูทั้ง 6 เก็บเปลือก   ยาง หัว,หน้าดอกเอาดอก ,หน้าผลเอาผล

10. อาตุรสัมปัตติลักษณะ- ลักษณะคนไข้ที่สามารถรักษาให้หายป่วยได้ มีองค์ 4 :    1. สมบัติ  2. อายุขัย   3. ความอดทน     4. ความต้องการมีชีวิตอยู่

11. ปริจาริกสัมปัตติลักษณะ  – พยาบาลที่ดี :    1. สามารถแสวงหายาตามที่หมอสั่ง  2. มีความรัก เมตตาคนไข้   3. ปรารถนาดูแลคนไข้เต็มที่   4. ขยันหมั่นเพียรเอาใจใส่คนไข้
12. วยาธิลักษณะ -สาเหตุการเกิดโรคกับร่างกาย 4:  1. ชรา สารีริกกะพยาธิ     2. อารมณ์โกรธ โศกเศร้า มานะสิกะพยาธิ    3. เกิดเพราะไม้ อาวุธ ไฟไหม้  อาคันตะกะพยาธิ  4. เกิดเพราะขาดน้ำ+แร่ธาตุ สหัชชะพยาธิ
13. ปกติลักษณะ –สังเกตหาธาตุเจ้าเรือนจากลักษณะของร่างกาย  จิตใจ อารมณ์ – วาตะ ผอม ผิวหยาบ ,ปิตตะ ตัวขาวเหลือง โกรธง่าย ,เสมหะ ผมละเอียด เนื้อเนียน อ่อน

14. ฐานะคตะวยาธิลักษณะ- ธาตุสมุฏฐานปกติมีเพียงสมุฏฐานเดียว   ถ้ามีสมุฏฐานอื่นมาแทรก ทำให้มีการ กำเริบหย่อนพิการก็ให้ทำการเยียวยา
15.เทศคุณลักษณะ – ประเทศสมุฏฐาน 3 : อนุปะระมะประเทศ น้ำมากศิลามาก โรคเพราะ เสลด+ลม ,ชังคะละประเทศ มีน้ำน้อย ต้นไม้น้อย โรคเพราะ เลือด+ ดี, สาธารณะประเทศ มีศิลาน้ำ ต้นไม้ เสมอกัน โรคเพราะเสลด +ดี +ลมเสมอกัน
16. กาลคุณลักษณะ- การแบ่งช่วงเวลาตามแบบโบราณอินเดีย   มี 3 กาล คือ กลางวัน 3 กลางคืน 3 (ช่วงแรก-เสลดกำเริบ, ช่วงสอง ดีกำเริบ ,ช่วงสาม ลมกำเริบ )
17. วยะลักษณะ -วัย 3 : เด็ก(0-16), ปานกลาง(16-70), แก่ (70 ขึ้นไป)
18. เทหะลักษณะ -กายมี 3 ประการ : กฤษเทหะ (ผอม), กูละเทหะ (อ้วน), มัชฌิมเทหะ (ปานกลาง) *ออกสอบ
19. สัตว์ลักษณะ- ลักษณะคนไข้ที่หมอสมควรจะเยียวยารักษา –เป็นผู้อดทน  ไม่ท้อถอยต่อการรักษา
20. สาตะมกะลักษณะ + 21. วะสาตะมิกะลักษณะ – เครื่องดื่ม (ปานะ) ,อาหาร, ที่อยู่(วิหาร), ยา(เภสัช) =เป็นเหตุให้เกิดโรค
22. รสะลักษณะ รส 6 ประการ : มะธุระ ( หวาน) , อัมพิละ (เปรี้ยว), ละวะณะ (เค็ม), กะฏกะ(เผ็ด), ติต์ติกะ (ขม), กะสาวะ (ฝาด) สรุป (เผ็ด ขม ฝาด –ลมกำเริบ, เผ็ด เปรี้ยว เค็ม –ดีกำเริบ, หวาน เปรี้ยว เค็ม –เสลดกำเริบ)
23.โทสสะวะภวะลักษณะ – สมุฏฐาน 3 คือ ลม ดี เสลด
24.โทโสตะภวะลักษณะ – มูลเหตุให้สมุฏฐาน 3 กำเริบ คือ วาโตภวะ กลั้นมูตรคูถ ทำให้ลมกำเริบ,ปิตโตภวะ กินเปรี้ยว เผ็ดเค็มร้อน เหล้า  ทำให้ดีกำเริบ,  กะโผภวะ นอนกลางวัน กินหวาน เสลดกำเริบ
25. โทษสมนะลักษณะ – วาตะสมนะ ของละเอียด  ร้อน น้ำมัน ระงับลม,  ปิตตะสมนะ   รสขม หวาน ฝาด เย็น ระงับดี , เสมหะสมนะ รสหยาบหนัก เผ็ด ขม  ระงับเสลด
26. ตริวิธวยาธิลักษณะ – โรคอันเกิดแต่กองสมุฏฐาน 3 มี 140 โรค วาตะพยาธิ 80, ปิตตะพยาธิ 40, เสมหะพยาธิ 20
27.อามาคนิพลลักษณะ- ร้อน 4 ประการ : ร้อนเสลด เกิดมันทาคนี ,ร้อนลม,  ร้อนดี เกิด ติขิณาคนี, ร้อนประชุมกันทั้ง 3 คือ เสลด ลม  ดี  เกิดสมาคนี
28.อาทานลักษณะ –ข้าวน้ำและอาหาร ที่ทำให้เกิดโรค
29.นิทานลักษณะ – แพทย์ต้องรู้ลักษณะอาการโรค ว่าเกิดจากธาตุใด กำเริบ หย่อน พิการ
30.บุรพเหตุลักษณะ- แพทย์ต้องรู้ลักษณะอาการปกติ  รู้อาการโรค เทียบเคียงแผนปัจจุบัน

การประยุกต์ใช้สรรพคุณติกิจฉา

การรักษาโรคด้วยการใช้ยา แบ่งสรรพคุณยาเป็น 2 ประการ
1. ทรัพย์คุณ – สรรพคุณสมุนไพร

2.ทรัพย์คณะ – พิกัดยา

 

แบบประเมินผลก่อนเรียน

1.ภิสกุตตมแพทยส์ ในคัมภีร์วรโยคสาร กล่าวถึงเรื่องใด

ตอบ มีความรู้ได้เรียนชำนาญในคัมภีร์แพทย์, มีปัญญาฉลาดรู้ชัดเจนในคณะโรค, มีจิตมิได้โลภในอามิส มีเมตตา กรุณาแก่สัตว์

2.องคลักษณะ ในองค์แห่งแพทย์ 30 ประการ

ตอบ การสักเกตความรู้สึกของคนไข้ว่าเจ็บป่วยที่อวัยวะใด

3.การเสี่ยงทายด้วยการฝัน  เชื่อว่าสามารถบอกเหตุการณ์ล่วงหน้าได้  ฝันใดที่เป็นสิ่งบอกเหตุว่าลางดีอาการป่วยไข้จะหาย

ตอบ ฝันเห็นเทวดาพรหมและท้าวพระยาก็ดี

4.หลักสังเกตุของหมอเพื่อดูภาวะจิตใจและร่างกายของคนไข้  ว่าสามารถที่จะทำการเยียวยารักษาให้หายได้ง่ายหรือไม่กล่าวในองค์แพทย์ใด

ตอบ อาโรคลักษณะ

5.ปริจาริกสัมปัตติลักษณะ (ลักษณะผู้พยาบาลไข้ที่ดี) คือ ข้อใด

ตอบ มีสติกำลังปัญญาแสวงหายา, มีใจรักสนิทคนไข้,มีความกรุณาให้คนไข้หาย, มีความหมั่นเพียรเอาใจใส่ให้กินยา (ออกสอบ)

6. ในฐานะ คตะวยาธิลักษณะ ข้อใดไม่ใช่ที่อยู่ของลม

ตอบ กระเพาะอาหาร

7. ข้อใด ไม่ใช่ พยาธิ ตามที่กล่าวถึงในองค์แพทย์

ตอบ โลหิต

8. สรรพคุณติกิจฉาในคัมภีร์วรโยคสารแบ่งสรรพคุณยาออกเป็นกี่ลักษณะอะไรบ้าง

ตอบ 2 ลักษณะ คือ ทรัพย์คณะ, ทรัพยคุณ

9.ทรัพยคุณ ของทองแดง คือข้อใด

ตอบ รสขมหวานฝาดกระทำให้แผลเย็นแผลงอกเนื้อ ระงับปิตตะ ระงับเสมหะ

10.ฏังคณะ คือสิ่งใด

ตอบ น้ำประสานทอง

 

แบบประเมินผลหลังเรียน (เหมือนก่อนเรียนคะ)

หมายเหตุ: บทนี้ข้อสอบออกเยอะ แต่เนื้อหาก็เยอะ หมั่นท่องแล้วกันนะจ๊ะ แต่ถ้าจะให้ดีเพื่อน ๆ อ่านในหนังสือก่อนนะคะ ถ้าผิดพลาดประการใดแจ้งใน Facebook ได้คร่าาา

แบ่งปันข่าวสาร Like & Share ให้ด้วยนะค่ะ