ติวเวชกรรมแผนไทย 1 มสธ หน่วยที่ 2

เวชกรรมแผนไทย

เวชกรรมแผนไทย

 

ติวเวชกรรมแผนไทย 1 มสธ หน่วยที่ 2

หน่วยที่ 2

จริยธรรม  จรรยาแพทย์  จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเวชกรรมแผนไทย

  

คุณธรรม – คุณงามความดี+ความเป็นธรรม

จริยธรรม – ธรรมที่เป็นข้อควรปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม

การแพทย์แผนไทย – กระบวนการทางการแพทย์ ตรวจ วินิจฉัย  บำบัด รักษา/ป้องกัน  ส่งเสริม+ฟื้นฟู

เวชกรรม – การตรวจ วินิจฉัย บำบัด/ป้องกัน ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดจริยธรรม คือ 1. วัฒนธรรมน้ำใจ   2. แรงจูงใจในการทำงาน

 

คุณธรรม+จริยธรรมสำหรับการแพทย์แผนไทย

– สัตตสัทธรรม

– พรหมวิหาร 4

– อิทธิบาท 4

– สังคหวัตถุ 4

– อัฏฐังคิกมรรค

 

คุณธรรมและจริยธรรมพื้นฐานสำหรับแพทย์แผนไทย (เริ่มส่วนนี้ให้เครดิต คุณมะลิ ที่เอามาลงติวให้ในกระดาน มสธ นะคะ)

๑.สัตตสัทธรรม เป็นธรรมพื้นฐานที่จะทำให้เรียนรู้ธรรมต่อไป
– สัทธา      เป็นสิ่งที่เกิดก่อนทำให้เกิดความเชื่อรักในวิชาชีพ
– หิริ      ความละลายแก่ใจ
– โอตตัปปะ  ความเกรงกลัวต่อบาป
– พหุสัจจะ   การได้ยิน ได้ฟัง ได้เรียนมาก
– วิริยะ     ความพากเพียรพยายาม
– สติ     ความยั้งคิด
– ปัญญา     ความรอบรู้ เข้าใจ ธรรมที่เป็นผลมาจากสติ

๒.พรหมวิหาร4  เป็นธรรมของพรหม ทำให้แพทย์แผนไทยอยู่ได้อย่างประเสริฐ
-เมตตา     ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข (รักใคร่)
-กรุณา     ความคิดช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ (สงสาร)
-มุทิตา     พลอยยินดี
-อุเบกขา     วางเฉย เมื่อพิจารณาแล้วว่าไม่มีทางช่วย

๓.อิทธิบาท 4 คือหนทางสู่ความสำเร็จ
-ฉันทะ     ความพอใจ
-วิริยะ     ความเพียร
-จิตตะ     ความฝักใฝ่ในการงาน
-วิมังสา     ความหมั่นตรึกตรอง

๔.สังคหวัตถุ 4 คือคุณธรรมที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจตนเองและผู้อื่น ปลูกฝังไมตรีหมู่คณะ
-ทาน     การให้
-ปิยวาจา     เจรจาอ่อนหวาน
-อัตถจริยา     ประพฤติตนเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
-สมานัตตา     ไม่ถือตัว
หมายเหตุ ข้อ 1-4 ความปฏิบัติเป็นประจำ

๕.อัฏฐังคิกมรรค มรรคมีองค์แปด คือธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จชั้นสูง
-สัมมาทิฏฐิ     ความเห็นชอบ
-สัมมาสังกัปปะ     ความดำริชอบ
-สัมมาวาจา     เจรจาชอบ
-สัมมากัมมันตะ     การงานชอบ
-สัมมาอาชีวะ     เลี้ยงชีพชอบ
– สัมมาวายามะ     ความเพียรชอบ
-สัมมาสติ     ความระลึกชอบ
-สัมมาสมาธิ     ความตั้งใจชอบ

. อบายมุข คือเหตุแห่งความล่มจม
-ของมึนเมา
-เที่ยวกลางคืน
-เที่ยวดูการละเล่น
– เล่นการพนัน
– คบคนชั่วเป็นมิตร
-ขี้เกียจการงาน
หมายเหตุ อัฏฐังคิกมรรค และอบายมุข เป็นธรรมที่แตกต่างกัน
๗. สัปปุริสธรรม คือธรรมของสัตตบุรุษ ที่ใช้ในการดำเนินชีวิต
-ธัมมัญญุตา          รู้จักเหตุ
-อัตถัญญุตา          รู้จักผล
– อัตตัญญุตา          รู้จักตน
-มัญตัญญุตา          รู้จักประมาณ
-การลัญญุตา          รู้จักกาลเวลา
-ปริสัญญุตา          รู้จักประชุมชน
-บุคคลปโรปรัญญุตา     รู้จักเลือกบุคคล

จรรยาแพทย์สากล
1.สมัยบาบิโลเนีย มีบันทึกไว้ใน คัมภีร์พรหมศาสตร์
2.สมัยกรีก ฮิปโปเครติส ทำบันทึกรวบรวมตำราชื่อ “คำปฏิญาณของฮิปโปเครติส จะเก่าแก่ที่สุด”
– ใช้ในโรงเรียน แพทย์ทวีปยุโรปและอเมริกา
-สมาคมแพทย์ของโลก ประมวลหลักสำคัญของคำปฏิญาณ เรียกว่าคำประกาศกรุงเจนนีวา
จรรยาบรรณในโรงเรียนแพทย์แผนไทย
มีในปลายร.5 เป็นตำราชื่อ “จรรยาแพทย์ “ โดยเจ้าพระยาพระสมเด็จสุเรนทราธิบดีและมีใช้จนถึงปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 ตอน
1.ลักษณะต่างๆที่เป็นกลางของธรรม
2.ธรรมเฉพาะสำหรับผู้เป็นแพทย์
3.ธรรมทั่วไป
จรรยาบรรณแพทย์แผนไทย คือ
1.การประพฤติปฏิบัติตนที่ดีของแพทย์แผนไทย
2.พบในคัมภีร์ ฉันทศาสตร์ คัมภีร์แพทยาลังกา วรโยคสาร คัมภีร์เวชศึกษา
1. คัมภีร์ฉันทศาสตร์เรียบเรียงโดย พระยาวิชยธิบดี (กล่อม)
ได้มีการแต่งขึ้นในสมัย ร.2 แต่งบทไหว้ครู และองค์ประกอบของแพทย์ที่ดี
บทไหว้ครูกล่าวถึงการเป็นแพทย์ที่ดี มี 2 องค์ประกอบ
1.ความรอบรู้ด้านการแพทย์ เภสัชกรรมและยามีคุณภาพ
2.มีจริยธรรมไม่เห็นแก่ลาภ

องค์ 8 กล่าวถึงเรื่องหมอ
-มีวิชาแพทย์อันได้เรียนรู้โดยชัดเจน
-ฉลาดในกริยาที่จะรักษาโรคต่างๆ
-ไม่อาลัยแก่ลาภ
-มีกายวาจาบริสุทธิ์
ครบทั้งสี่ เรียกว่า “อภิสังคสัมปัตติลักษณะ”
องค์ 9 กล่าวถึงผู้เป็นไข้
-มีสมบัติพอที่จะหายารักษาตัวได้
-มีอายุยังจะสืบต่อไปได้อีก
-ความเพียรอาจจะอดทนได้
-มีใจอุตสาหะคิดหมายจะรักษาชีวิตให้จงได้
เรียกว่า “อาตุรสัมปัตติลักษณะ”

องค์ 11 ผู้พยาบาลไข้
-มีสติกำลังปัญญาแสวงหายาได้โดยเร็ว
-มีใจรักสนิทในคนไข้
-มีความกรุณาอัธยาศัยที่จะให้คนไข้หาย
-มีความเพียรหมั่นเอาใจใส่ดูแลเรื่องการกินยา

คัมภีร์เวชศึกษา
1. มีเมตตาจิตแก่คนไข้ไม่เลือกชั้นวรรณะ
2. ไม่โลภ เห็นแก่ลาภคนไข้
3. ไม่โอ้อวด
4.ไม่หวงกีดกัน
5.ไม่ลุอำนาจแก่อคติ
6.ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม 8
7.มีความละอายสะดุ้งกลัวบาป
8.ไม่เกียจคร้าน
9.มีความละเอียดสุขุมมีสติ
10.ไม่มีสันดานมัวเมาในอบายมุข

จรรยาบรรณหมอพื้นบ้าน
1.เป็นการปฏิบัติตัวของหมอพื้นบ้านที่กำหนดขึ้นตามองค์ความรู้เฉพาะถิ่น
2.สอดคล้องกับวัฒนะธรรมความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณี
3.เพื่อรักษา ส่งเสริมชื่อเสียงสถานะภาพในความเป็นหมด

จรรยาบรรณหมอพื้นบ้านในแต่ละภาคแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1.หลักศีลธรรม
2.การปฏิบัติตัว
3.การรับประทานอาหาร

1. หมอพื้นบ้านภาคเหนือที่เด่นชัดคือการแพทย์ล้านนา
– มีการปฏิบัติตนของหมอเรียกว่า การถือตัว
– การฝ่าฝืน เรียกว่า ผิดครู
– ผักที่มีเมือกลื่น ห้ามกินเพราะทำให้คาถาไหล
– การโผดคน คือยาขอหมอวาน

2. หมอพื้นบ้านภาคกลาง
ไม่มีคำเรียกเฉพาะเหมือนภาคเหนือ เน้นความกตัญญูรู้คุณครู บิดามารดาดูได้จากการไหว้ครู

3. ภาคตะวันออก
– มีการทำพิธีไหว้ครูประจำปีในช่วงสงกรานต์
– ห้ามรับประทานมะเฟืองเพราะทำใฟ้ฤทธิ์สมุนไพรเสื่อม

4. หมอพื้นบ้านภาคตะวันตก
– ส่วนใหญ่รักษาโรคเด็ก โรคกระดูก เคล็ดขัดยอก
– การรับประทานอาหารไม่ห้ามมากนัก
– การรักษาจะมีค่ายกครู หากไม่เรียกจะทำให้ผิดครู

5. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– ข้อห้ามหรือข้อกำหนดเรียกว่า ขะลำหรือคะลำ
– ไม่กินผักเมือก ปลาไม่มีเกล็ด

6. ภาคใต้
– ยึดหลักทางศาสนาเป็นหลัก
– ข้อห้ามกินไม่มี
– ข้อปฏิบัติมีไม่มาก
– เน้นการเก็บยา เรียนว่าพลียา ผู้เป็นหมอต้องเก็บคนเดียว
ถึงตรงนี้ขอขอบคุณ คุณมะลิ มาก ๆ เลยคะ

 

ต่อไปก็แบบทดสอบก่อนเรียน

1.ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดจริยธรรมในแพทย์แผนไทย คือ ข้อใด

ตอบ วัฒนธรรมน้ำใจ

2.หลักธรรมใดที่นักศึกษาควรศึกษาก่อนที่จะศึกษาหลักธรรมอื่น

ตอบ สัตตสัทธรรม (ออกสอบจ๊ะ)

3.คุณธรรมและจริยธรรมพื้นฐานที่นักศึกษาแพทย์แผนไทยควรปฏิบัติ ยกเว้น ข้อใด

ตอบ อบายมุข (ออกสอบจ๊ะ)

4.ผู้ใดเป็นผู้ริเริ่มสอนจรรยาแพทย์ในโรงเรียนแพทย์ของประเทศไทย

ตอบ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี

5.จรรยาแพทย์แผนไทย กล่าวไว้ในคัมภีร์ใด

ตอบ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ และคัมภีร์แพทยาลังการ ( ฉันทศาสตร์ คัมภีร์แพทยาลังกา วรโยคสาร คัมภีร์เวชศึกษา)

6.คัมภีร์เวชศึกษา กล่าวถึงจรรยาแพทย์ ดังคุณธรรม 10 ประการ ยกเว้นข้อใด

ตอบ ไม่ปิดบังความเขลาของตนและไม่ปิดบังความดีของผู้อื่น

7.องค์แพทย์ 30 ประการ ปรากฎอยู่ในคัมภีร์ใด

ตอบ คัมภีร์วรโยคสาร

8.การรักษาจรรยาบรรของหมอพื้นบ้านภาคเหนือ เรียกว่าอย่างไร

ตอบ การถือตัว

9.การรักษาจรรยาบรรณของหมอพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่าอย่างไร

ตอบ ข้อคะลำ

10.ผู้ประกอบโรคศิลปะสามารถโฆษณาประกอบโรคศิลปะของตนได้ ยกเว้น ข้อใด

ตอบ การประกวดผลงานในงานประจำปีต่าง ๆ

 

แบบทดสอบหลังเรียน

1.วัฒนธรรมน้ำใจก่อให้เกิดจริยธรรมในแพทย์แผนไทยอย่างไร

ตอบ เกิดจากความเมตตา กรุณา คอยช่วยเหลือเอื้อเฟื้อผู้อื่น

2.สัตตธรรม คือหลักธรรมในข้อใด

ตอบ ธรรมอันดี 7 ข้อ

3.ข้อใด ไม่ได้กล่าวถึง อบายมุขที่เป็นเหตุให้ล่มจม

ตอบ เที่ยวกลางวัน

4.หนังสือจรรยาแพทย์ที่แต่งโดย เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี มีเนื้อหากล่าวถึงจรรยาแพทย์อย่างไร

ตอบ ธรรมทั่วไป,ลักษณะต่างๆ ที่เป็นของกลางของธรรม,ธรรมเฉพาะสำหรับผู้ที่เป็นแพทย์

5.บาปธรรม 14 ประการในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ตรงตามหลักธรรมทางพุทธศาสนาในข้อใด

ตอบ เจตสิก

6.ไม่ปิดบังความเขลาของตนและไม่ปิดบังความดีของผู้อื่นเป็นหลักคุณธรรมที่พบในคัมภีร์ใด

ตอบ คัมภีร์แพทยาลังการ

7.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอภิสังคสัมปัตติลักษณะ

ตอบ ประกอบด้วยองค์ 5 ประการ

8.การถือตัวของหมอพื้นบ้านภาคเหนือ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

ตอบ ต้องรับศีล 5 จากพระก่อนการรักษา

9.ข้อคะลำด้านการรับประทานอาหร ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

ตอบ ไม่รับประทานเนื้อห่าน

10.ผู้ประกอบโรคศิลปะสามารถแสดงข้อความเกี่ยวกับการประกอบโรคศิลปะของตนที่สถานที่ทำการประกอบโรคศิลปะ ข้อความใด ไม่สามารถแสดง

ตอบ ความเชี่ยวชาญ

หมายเหตุ: บทนี้ผู้จัดทำจำข้อสอบได้เพียงประมาณ 2 ข้อเท่านั้น แต่ในส่วนของหมอพื้นบ้านก็ออกคะและในส่วนคัมภัร์ก็ออกคะเพียงแต่ว่าออกส่วนไหนนี่จำไม่ได้แล้วต้องขอโทษด้วยนะคะ ยังไงก็ท่อง ๆ ไปละกันนะคะ วันนี้มาช้าหน่อยต้องขอโทษด้วยคะงานมันเยอะจริงๆ ผิดพลาดประการใดแจ้งใน Facebook นะคะ

แบ่งปันข่าวสาร Like & Share ให้ด้วยนะค่ะ