โปลิโอกลับมาระบาด WHO เตรียมประกาศภาวะฉุกเฉิน

โปลิโอกลับมาระบาด WHO เตรียมประกาศภาวะฉุกเฉิน

องค์การประกาศเตือนโรคโปลิโอ กำลังกลับมาเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และขณะนี้ยังคงระบาดในปากีสถาน แคมเมอรูน อิรัก โซมาเลีย เอธิโปเปีย และซีเรีย ถือเป็นความเสี่ยงครั้งใหญ่

องค์การอนามัยโลก WHO ออกประกาศเตือนโรคโปลิโอ กำลังกลับมาเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข หลังจากพบผู้ป่วยครั้งใหม่ในหลายประเทศที่ถูกประกาศว่า เป็นประเทศที่ปลอดโปลิโอแล้ว และขณะนี้ยังคงระบาดใน ปากีสถาน แคมเมอรูน อิรัก โซมาเลีย เอธิโปเปีย และซีเรีย ถือเป็นความเสี่ยงครั้งใหญ่ ที่เชื้อไวรัสจะแพร่ไปยังประเทศอื่นๆ ได้อีก และเรียกร้องให้ประเทศเหล่านี้ ประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และดำเนินการฉีดวัคซีนให้คนที่มีภาวะเสี่ยง ก่อนเดินทางออกนอกประเทศด้วย เชื้อไวรัสโปลิโอ ซึ่งได้รับการกำจัดไปจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกจนเกือบหมดสิ้นเมื่อ 2 ปีก่อนได้กลับมาระบาดอีกครั้ง เนื่องจากการสู้รบในประเทศอย่างซูดาน ไปจนถึง ปากีสถาน กระทบโครงการฉีดวัคซีนให้เด็กๆ ในประเทศเหล่านี้ ผู้ติดเชื้อโปลิโอทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 417 รายเมื่อปีที่แล้ว จาก 223 ราย เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งเป็นจำนวนที่ต่ำสุดในประวัติศาสตร์ ส่วนตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงเดือนเมษายน พบผู้ติดเชื้อแล้ว 68 รายทั่วโลก ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ฤดูกาลแพร่ระบาด ขณะนี้ยังไม่มียารักษาผู้ติดเชื้อแต่สามารถป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน

 

โรคโปลิโอ ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

โรคโปลิโอ ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

 

โรคโปลิโอเป็นโรคที่นับว่ามีความสำคัญมากโรคหนึ่ง ทั้งนี้เพราะเชื้อโปลิโอจะทำให้มีการอักเสบของไขสันหลัง และของประสาทหรือสมองทำให้เป็นอัมพาต พิการตลอดชีวิตได้ ถึงแม้ในปัจจุบันโรคนี้จะมีผู้ป่วยน้อยลง แต่ก็ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ

สาเหตุและการติดต่อของโรคโปลิโอ
เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอ ซึ่งมี 3 ชนิดคือ 1. 2 และ 3 เชื้อจะมีอยู่ในคนที่เป็นโรคนี้ หรือ อาจจะพบในคนที่ไม่มีอาการของโรคแต่เป็นพาหะนำโรค เชื้อจะอยู่ในสำไล้และออกมาพร้อมกับอุจจาระ เชื้อโรคสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง โดยเชื้อเข้าทางปากหรือจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น การจับต้องสิ่งของเครื่องใช้ที่มีเชื้อนี้ติดอยู่หรือเชื้อติดเข้าไปกับอาหาร อาจพบเชื้อในอุจจาระได้นาน 6-8 สัปดาห์ ในระยะสัปดาห์แรกอาจพบเชื้อโปลิโออยู่ในลำคอของผู้ป่วย ดังนั้นการไอหรือจามจึงเป็นทางติดต่อได้ทางหนึ่ง เชื้อโรคจะสามารถเข้าไปสู่ระบบประสาทได้โดยผ่านทางเดินน้ำเหลือง

อาการของโรคโปลิโอ
หลังจากระยะฟักตัวประมาณ 7-21 วันแล้ว ส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่มาก ในรายที่เป็นโรคจะเริ่มมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย มีอาการปวดศีรษะ และอาจจะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด ในเด็กเล็กอาจมีอาการถ่ายอุจจาระเหลวและอาเจียน ต่อมาเริ่มมีอาการปวดหลัง ปวดต้นคอและแขนขา จะอาการคอแข็งและหลังแข็งตามมา ในรายที่มีอาการรุนแรงจะพบว่ามีอัมพาตของแขนขาแบบกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ ถ้ากล้ามเนื้อกะบังลมซึ่งมีความสำคัญในการหายใจเป็นอัมพาต จะทำให้หายใจไม่ได้อาจถึงตายได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยหายใจทันท่วงที

ลักษณะของคนที่เป็นโรคโปลิโอ

ลักษณะของคนที่เป็นโรคโปลิโอ

การรักษาโรคโปลิโอ

  1. เช่นเดียวกับโรคทีเกิดจากเชื้อไวรัสอื่นๆ ซึ่งไม่มียาเฉพาะ ให้การดูแลรักษาตามที่แพทย์สั่ง ส่วนรายที่มีอัมพาตหลายส่วนของร่างกาย ระยะแรกอาจจะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
  2. ในระยะที่มีไข้ ควรจะให้นอนพักบนเตียง นอนในท่าสบายที่จะไม่ทำให้กล้ามเนื้อตึงจะช่วยให้อาการเจ็บปวดลดลง
  3. ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นๆ ประคบตามแขนขาที่ปวดหรืออาจจะให้ยาระงับปวดได้ตามคำแนะนำของแพทย์
  4. ในรายที่มีอัมพาตของแขนขา การนวดที่ถูกวิธีจะช่วยให้กล้ามเนื้อกลับมาทำงานได้เร็วขึ้น ถ้ากล้ามเนื้อกลับมาทำงานได้ตามปกติ ส่วนใหญ่มักจะดีขึ้นภายในระยะ 3-6 เดือน หลังจากระยะ 18 เดือนไปแล้ว ความหวังว่าจะหายเป็นปกติได้เหลือน้อยมาก การนวดควรจะเริ่มทำโดยเร็วที่สุดตามคำแนะนำของแพทย์

การปัองกันโรคโปลิโอ

  1. โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการให้วัคซีน วัคซีนที่แนะนำและได้ผลดีเป็นวัคซีนที่ใช้รับประทาน 3 ครั้ง
  2. ระวังเรื่องความสะอาดของอาหาร จะต้องล้างมือก่อนให้อาหารเด็กทุกครั้ง
  3. หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในชุมชนที่แออัด และเว้นการใช้สระว่ายนาสาธารณะ และไม่ควรให้ ออกกำลังจนเกินควรในระยะที่มีการระบาดของโรคโปลิโอ
  4. กำจัดอุจจาระของผู้ป่วยให้ถูกหลัก เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

 

ขอขอบคุณข้อมูล  INN, kaepe.net

 

แบ่งปันข่าวสาร Like & Share ให้ด้วยนะค่ะ