เห็ดพิษ อันตรายถึงตาย

เห็ดพิษ

เห็ดพิษสามารถ แบ่งได้เป็น เห็ดพิษ4 ชนิดด้วยกัน คือ

เห็ดพันธ์อะมานิตา มัสคาเรีย
 • เห็ดชนิดนี้มีพิษรุนแรง เมื่อรับประทานเข้าไป 15 – 30 นาที จะมีอาการตัวร้อน ใจสั่น หัวใจเต้นช้าลง เส้นเลือดขยาย มีอาการผิดปกติในการเห็นภาพ ม่านตาหรี่ เหงื่อ น้ำลาย และน้ำตาจะถูกขับออกมามาก ปวดบริเวณช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจขัด และถึงแก่ความตายในที่สุด

เห็ดพันธ์อะมานิตา ฟัลลอยเดส
 • เห็ดชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการอย่างชัดเจนภายใน 6 – 12 ชั่วโมง อย่างช้าไม่เกิน 24 ชั่วโมง จะมีอาการอาเจียน ปวดท้อง  อย่างแรง ท้องเดิน เป็นตะคริว ความดันโลหิตต่ำ ตับบวม และถึงแก่ชีวิตในที่สุด หากรับประทานในปริมาณมาก อาจเสียชีวิตได้ภายใน 2 – 3 วัน

เห็ดพันธุ์อีโนไซบ์
 • หากรับประทานเห็ดชนิดนี้ จะมีอาการปวดท้อง เนื่องจากกระเพาะอาหาร และลำไส้หดเกร็ง

เห็ดพันธุ์โคปรีนัส อาทราเมนทาเรียสหรือเห็ดหมึก
 • มีสารที่รวมตัวกับแอลกอฮอล์แล้วเกิดพิษ ผู้ที่ดื่มสุราพร้อมกับรับประทานเห็ดชนิดนี้ จะมีอาการใจสั่น หายใจหอบ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ
เห็ดทั้ง 4 ชนิดนี้ จะขึ้นเป็นดงในป่าที่มีความชื้นสูง

ลักษณะของเห็ดพิษโดยทั่วไป
สามารถสังเกตได้ คือมีสีเข้มจัด เช่น แดง ส้ม ดำ หรือมีสีฉูดฉาด มีแผ่น หรือเกล็ดขรุขระบนหมวกเห็ด มีวงแหวนพันรอบบนก้านดอกเห็ดวงแหวนนี้จะเป็นตัวเชื่อมเนื้อเยื่อของหมวกเห็ด และก้านดอกให้ติดกันเมื่อดอกเห็ดบาน มีขน หรือหนามเล็กๆกระจายอยู่ทั่วไป มีกลิ่นโดยส่วนมากจะเป็นกลิ่นเหม็น มีน้ำเมือก หรือมีน้ำยางสีขาวออกมาเมื่อกรีดที่หมวกเห็ด ครีบที่อยู่ใต้หมวกจะมีสีขาว สปอร์ในครีบมีสีขาวเช่นกัน
รศ. นพ. ไพฑูรย์ ณรงค์ชัย อายุร แพทย์ และนิติแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงเห็ดพิษว่ามีหลายชนิดบางชนิดก็อาจเป็นเห็ดพิษได้ หากไปขึ้นอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ

เห็ดมีมาก มายมาก มีลักษณะสองลักษณะคือหนึ่ง เห็ดที่เป็นพิษโดยตัวของมันเอง กับเห็ดที่เป็นพิษ เนื่องจากเห็ดตามธรรมชาติแต่ไปขึ้นในตำแหน่งที่มีพิษ ก็สามารถทำให้เกิดเป็นเห็ดพิษได้เหมือนกัน ลักษณะของเห็ดพิษโดยทั่วๆไป เป็นสีค่อนข้างจะฉูดฉาด ลักษณะเหมือนกับเป็นเห็ดที่สกปรก  มีขุย บางชนิดอาจจะมีกลิ่นเหม็นหืน ซึ่งถ้าจะทดสอบก็ดูจากสัตว์ ส่วนใหญ่สัตว์ก็จะไม่กิน เห็ดพวกนี้จะขึ้นในตำแหน่งที่อยู่ในป่าลึกๆ  ต้องระมัดระวัง หรือขึ้นอยู่ในตำแหน่งที่มีโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆเหล่านี้
อีกลักษณะหนึ่งที่เราจะดูได้เช่น ลองหักก้านเห็ดดู ถ้ามียางออกมา ไม่ว่าจะเป็นสีอะไรก็แล้วแต่ ก็พยายามอย่าไปกิน เพราะลักษณะอย่างนั้นอาจจะเป็นลักษณะของเห็ดพิษได้เหมือนกัน ถึงแม้ว่าจะไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การหลีกเลี่ยงก็จะเป็นสิ่งที่ดีกว่า อันที่สองก็คือลองกรีดดู ว่าตรงส่วนก้านเห็ด หรือต้นเห็ด ลองกรีดดูว่ามีสีที่แตกต่างกันออกไปหรือไม่ ปกติควรจะเป็นสีลักษณะสีเดียวกันทั้งต้น  แต่ถ้ามีลักษณะเป็นสีที่อาจจะออกมาเป็นสีเทา หรือว่าน้ำตาลก็ต้องระมัดระวัง นั่นอาจเป็นเห็ดที่มีพิษได้

วิธีการสังเกตความเป็นพิษของเห็ด
โดยใช้วิธีแบบง่ายๆที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้ ก็สามารถทดสอบได้ แต่ยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่า เห็ดนั้นปลอดภัยหรือไม่ในลักษณะอื่นๆบางคนก็อาจจะใช้  ซึ่งก็ไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็อาจจะพอช่วยได้ เช่นการนำไปต้ม หรือว่าไปผสม ทำให้เกิดความร้อนเกิดขึ้น แล้วใช้ช้อนเงิน หรือของที่เป็นเงิน  แล้วทำให้สีของช้อนเงินเปลี่ยนแปลงไป ก็อาจจะทำให้เป็นลักษณะหนึ่งที่พอดูได้ ซึ่งจะเป็นเรื่องยุ่งยากสักหน่อย แต่ถ้าดูด้วยตาเปล่า อย่างที่กล่าวมาทั้งหมดก็จะเป็นตัวช่วยเราได้

อย่างไรก็ตาม พบว่ามักมีผู้ป่วยจากการรับประทานเห็ดพิษ ไม่ว่าจะเป็นเห็ดชนิดที่เป็นอันตรายร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิต และชนิดที่เป็นพิษแต่ไม่เป็นอันตรายมากนัก โดยเห็ดที่รับประทานแล้วมีโอกาสเป็นอันตรายร้ายแรงสูงก็คือ เห็ดไข่ห่านตีนดำ หรือที่อาจจะเรียกว่า เห็ดระโงกหิน หรือเห็ดกินตาย   เห็ดที่ชาวบ้านเรียกกันว่า เห็ดไข่ห่านตีนดำ หรือบางที่อาจจะเรียกว่า เห็ดระโงกหิน หรือบางแห่งอาจจะเรียกว่า เห็ดกินตาย ซึ่งพวกนี้จริงๆแล้วถ้าเป็นคนโบราณก็พอจะรู้แล้วว่าเห็ดชนิดนี้ไม่ควรจะกิน แต่ว่าคนที่ไปหาของป่า หรือว่าไม่เคยไป หรือว่าไม่เคยเห็นก็จะเก็บมา เพราะเป็นเห็ดที่มีดอกใหญ่มาก แล้วเชื่อกันว่ากินอร่อย  อันนี้แค่เพียงหนึ่งดอกแค่นั้นเอง ก็สามารถที่จะทำให้เสียชีวิตได้เหมือนกัน โดยที่ไปทำลายตับ และทำลายไต ทำให้ไตวาย หรือตับวายตามมา แล้วก็เสียชีวิต  ซึ่งเห็ดพวกนี้ไม่ได้เกิดอาการรุนแรงในระยะเวลาสั้นๆใกล้ๆ คือหมายถึงว่ากินไปแล้ว กว่าจะทำลายร่างกาย หรือกว่าที่จะแสดงอาการออกมา  ใช้เวลาโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 12 ชั่วโมง หรือครึ่งวัน เพราะฉะนั้นทำให้คนบางคนอาจจะเข้าใจว่า ไม่ใช่จากเห็ดพิษ เพราะฉะนั้นเวลากินเห็ดต้องระมัดระวังตรงนี้ อาจจะให้ประวัติกับหมอด้วยก็ค่อนข้างจะดี  ส่วนเห็ดพิษที่พบได้บ่อยมากกว่า เช่น เห็ดหิ่งห้อย, เห็ดน้ำหมึก, เห็ดถั่วงอก จะเป็นเห็ดพิษซึ่งทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือปวดท้อง  และหายได้ในระยะเวลาประมาณ 1 วัน หรือถ้าได้รับการรักษาก็จะหายได้เร็วขึ้น

สำหรับการช่วยเหลือเบื้องต้นกับผู้ป่วยที่รับประทานเห็ดพิษ สามารถให้ความช่วยเหลือได้หลายวิธีด้วยกัน

ถ้ากินเห็ดพวกที่มีพิษไม่รุนแรง แต่เกิดขึ้นในระยะอันรวดเร็ว หลังจากที่กินเข้าไป พวกนี้ก็จะมีอาการที่เด่นชัดก็คือ อาเจียน ท้องเสีย วิธีการช่วยเหลือเบื้องต้น  ถ้าสามารถทานได้ ก็ให้ทานน้ำเปล่า ทานให้เยอะสักหน่อย เพื่อจะช่วยเจือจาง หรือว่าอาจจะอาเจียนออกมา ก็เป็นสิ่งที่ดีอันหนึ่ง คือมีการเอาพิษออกมาด้วยในตัว  หรืออีกวิธีหนึ่ง ถ้ามีพวกถ่านกำมัน หรือว่าผงถ่าน ซึ่งเป็นยาพื้นบ้าน หาซื้อได้ง่าย ไม่ยาก ติดบ้านไว้ ก็อาจจะช่วยในการดูดพิษได้เหมือนกัน ส่วนยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน ถ้ามีอยู่ในบ้าน  และสามารถกินได้ ก็พอจะใช้ได้ในเบื้องต้น และให้น้ำเกลือแร่ให้กินเข้าไป เพื่อที่จะลดอาการการสูญเสียน้ำ หรือเกลือแร่ได้ แล้วก็นำส่งโรงพยาบาล ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า  พอมาถึงโรงพยาบาลแล้ว แพทย์ก็จะให้รับการรักษา ซึ่งก็คงจะเป็นเรื่องของการให้น้ำเกลือ และเกลือแร่ หรือวิตามิน แล้วก็มีการฉีดยาแก้อาเจียน แก้ปวดท้อง  รักษาอยู่ประมาณ 1- 2 วัน ก็สามารถที่จะกลับบ้านได้ โดยไม่มีอันตรายเรื้อรังเกิดขึ้น ส่วนเห็ดที่มีพิษรุนแรง ต้องรีบส่งโรงพยาบาล ถ้ายิ่งกินไปแล้วตอนเย็น  แล้วเพิ่งมาเกิดตอนเช้า หรือกินตอนเช้า แล้วเพิ่งจะมีอาการอาเจียนตอนเย็นๆ อันนี้ต้องระมัดระวังมาก ต้องรีบส่งโรงพยาบาล เพราะโอกาสเสียชีวิตสูงมาก

หากจะเลือกรับประทานเห็ดก็ควรต้องใส่ใจ และใช้ความระมัดระวังให้มาก ถ้าไม่รู้จักเห็ดชนิดนั้นดีพอก็ไม่ควรบริโภคโดยเด็ดขาด หรือแม้จะรู้จักเห็ดชนิดนั้นแต่ถ้าขึ้นในป่าลึก หรือในเขตโรงงานอุตสาหกรรม บริเวณที่มีแหล่งน้ำเสีย ก็ไม่ควรนำเห็ดนั้นมารับประทาน การรู้จักเลือกอย่างระมัดระวังจะช่วยให้ปลอดภัยจากเห็ดพิษได้

วิธีทดสอบความเป็นพิษของเห็ด การสังเกตลักษณะต่างๆ ให้ลองไปทดสอบกันดูเล่นๆนะค่ะ

เป็นการยากที่จะจำแนกได้ว่าเห็ดชนิดใดมีพิษหรือชนิดใดไม่มีพิษ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ นอกวงการเห็ดหรือชาวบ้านทั่วไป ดังนั้น ถ้าเก็บเห็ดชนิดหนึ่งชนิดใดได้และไม่แน่ในว่าเป็นเห็ดพิษหรือไม่ วิธีการง่ายๆ ที่ใช้ ทดสอบกันอยู่ในปัจจุบัน คือ
1. นำไปต้มกับข้าวสาร ถ้าเป็นเห็ดพิษ ข้าวสารจะสุกๆ ดิบๆ หรือไม่สุก

2. ใส่หัวหอมลงไปในหม้อต้มเห็ด ถ้าเห็ดเป็นพิษ น้ำต้มเห็ดจะเปลี่ยนเป็นสีดำ

3. ในขณะที่ต้มเห็ด ถ้าใช้ช้อนที่เป็นช้อนเงินแท้ลงไปคน ถ้าเห็ดเป็นพิษ ช้อนจะเปลี่ยนเป็นสีดำ

4. ใช้มือถูหมวกดอกเห็ดจะเกิดแผล ถ้ารอยแผลมีสีดำ แสดงว่าเป็นเห็ดพิษ

5. ทดสอบโดยการสังเกตดูดอกเห็ด ถ้ามีรอยแมลงสัตว์กัดกิน แสดงว่าไม่มีพิษ
จากการทดสอบทั้ง 5 วิธีดังกล่าว ก็ยังไม่สามารถทดสอบความเป็นพิษของเห็ดได้อย่างแน่นอน เช่น การจุ่มช้อนเงิน  ลงไปในหม้อต้มเห็ด พบว่า เห็ดอะมานิตา ฟัลลอยด์ (Amanita Phalloides) ซึ่งเป็นเห็ดที่มีพิษร้ายแรงที่สุด ช้อนจะไม่เปลี่ยน เป็นสีดำ  หรือการสังเกตรอยกัดแทะของสัตว์ก็ยังไม่สามารถเชื่อถือได้ เพราะกระต่ายและหอยทากสามารถกัดกินเห็ดอะมานิตาฟัลลอยด์ได้โดยไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด เนื่องจากในกระเพาะอาหารของสัตว์ดังกล่าวมีสารที่ทำลายพิษของเห็ดชนิดนี้ได้

ลักษณะของเห็ดพิษในสกุลอะมานิตา

เห็ดพิษที่พบในประเทศไทยมากที่สุดขณะนี้คือ เห็ดในสกุลอะมานิตา และเห็ดพิษที่ร้ายแรงที่สุดคือ เห็ดอะมานิตาฟัลลอยด์ การสังเกตลักษณะของเห็ดในสกุลนี้ให้สังเกตที่ครีบดอกและสปอร์จะมีสีขาวโดย ที่หมวกดอกเป็นสีอื่น นอกจากนี้ที่โคน ดอกจะมีปลอกหุ้มพร้อมกับมีวงแหวนที่ก้านดอก

อาการเป็นพิษของเห็ดพิษทุกชนิด

ส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ง่วงนอน ใจสั่นหรือปวด ท้องอย่างรุนแรง ฉะนั้นหากบริโภคเห็ดชนิดใดเข้าไปแล้วเกิดอาการดังกล่าว  ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ถึงแม้ว่าเห็ดพิษบางชนิด พิษจะไม่รุนแรงมากนักก็ตาม แต่ถ้าผุ้ที่บริโภคเห็ด  มีร่างกายอ่อนแอหรือป็นโรคภูมิแพ้ก็อาจจะเป็นอันตรายถึงแต่ชีวิตได้

Credit:  narisara.igetweb.com

แบ่งปันข่าวสาร Like & Share ให้ด้วยนะค่ะ