• Home »
  • บทความ »
  • ติวข้อสอบนวดแผนไทย 1 มสธ (แพทย์แผนไทย) ตอน 2

ติวข้อสอบนวดแผนไทย 1 มสธ (แพทย์แผนไทย) ตอน 2

นวดแผนไทย

นวดแผนไทย

ติวข้อสอบนวดแผนไทย 1 มสธ (แพทย์แผนไทย) ตอน 2

หน่วยที่ 3

การเตรียมความพร้อมและการนวดแผนไทยอย่างมีคุณภาพ

 

15. ข้อใดคือความหมายของการนวดที่สมบูรณ์ที่สุด

ตอบ การสัมผัสร่างกายโดยใช้ส่วนของร่างกายหรืออุปกรณ์เพื่อบรรเทาความไม่สบาย

 

16. สังเกตผลของการนวดที่ให้ความรู้สึกที่ดีได้อย่างไร

ตอบ สีหน้าและอาการต้านเกร็งของกล้ามเนื้อ และ สอบถามผู้ถูกนวดโดยตรง

 

17. ข้อใดคือผลดีของการนวด

ตอบ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว

 

18. อาการใดต่อไปนี้  ไม่ควรนวด

ตอบ กล้ามเนื้อฟกช้ำ, กล้ามเนื้ออักเสบ, ข้อต่อบวมร้อน, เป็นโรคผิวหนัง

 

19. การนวดบริเวณใดควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

ตอบ  ส่วนที่เป็นกระดูก-ข้อต่อ, ส่วนบริเวณเนื้ออ่อน , ส่วนบริเวณช่องท้อง , ส่วนบริเวณทรวงอก

 

20. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการนวด

ตอบ หลักการนวดคือ มืออยู่ที่ใด  ใจอยู่ที่นั่น

 

21.ข้อใดคือความหมายของการนวด

ตอบ  การบรรเทาความไม่สบายเบื้องต้นของมนุษย์ , การสัมผัสต่อร่างกายบริเวณที่มีความเจ็บป่วยเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย , การใช้เครื่องมือสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย, การกด-บีบ การดึง-ดัด การทุบ-ตี

 

22. ผู้นวดควรเตรียมตัวอย่างไร

ตอบ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ, มีทัศคติที่ดีต่อการนวด,ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ, ฝึกความชำนาญเกี่ยวกับการนวด

 

23. ขณะทำการนวด  ผู้นวดไม่ควรทำสิ่งใด

ตอบ ชวนพูดคุยเรื่องต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย

 

24. ข้อใดไม่ควรนวด

ตอบ  นวดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่ฉีกขาดเพื่อให้สมาน

 

หน่วยที่ 4

ภูมิปัญญาการนวดแผนไทย 4 ภาค

 

25. ข้อใดคือความเชื่อของการเกิดโรคของคนภาคอีสาน

ตอบ เกิดจากความผิดปกติของเส้น  เลือดลมไหลไม่สะดวก

( ภาคปกติออกอย่างนี้  ตอนสอบซ่อม ออกภาคอื่นจ๊ะ เพราะฉะนั้นเพื่อน ๆ ต้องท่องให้หมดทุกภาค)

 

26. ข้อใดเป็นการนวดของภาคเหนือ

ตอบ การจกเส้น (การใช้หัวแม่มือกดลงตรง ๆ แล้วงัดขึ้น – ความหมายก็ออกสอบจ๊ะ)

 

27. ภาคใต้ – การแคว็กเส้น – การใช้นิ้วดึงเส้นเข้าหาตัว เพื่อเส้นที่จมลอยขึ้น (อันนี้ออกความหมายจ๊ะ)

 

28. ข้อใดไม่ใช่รูปแบบวิธีนวดภาคกลาง

ตอบ การจกเส้น

 

29. เส้นหลักของคติความเชื่ออีสานมีกี่เส้น

ตอบ 7 เส้น

 

30. การเหยียบจะใช้สำหรับการนวดในบริเวณใด

ตอบ บริเวณกล้ามเนื้อมัดใหญ่

 

31. ศัพท์พื้นบ้านภาคใต้คำว่า “ตี๋นพลิ๊กเหมี๊ย”หมายถึง

ตอบ ข้อเท้าแพลงเจ็บข้อเท้าด้านใน (อันนี้ออกแล้วแล้วก็ออกอีกจ๊ะ)

 

32. ข้อใด ไม่ใช่ ความเชื่อการเกิดโรคของคนไทยภาคเหนือ

ก. เกิดจากธาตุทั้ง 4

ข. เกิดจากขวัญหรือพลังจิต

ค. เกิดจากรูปธรรมกับนาม

ง. เกิดจากอวัยวะ 32 ที่มีผลต่อจิต

จ. เกิดจากสิ่งต่าง ๆ ตามธรรมชาติ

ตอบ  ง. เกิดจากอวัยวะ 32 ที่มีผลต่อจิต (ข้อสอบข้อนี้ออกทั้งปกติและซ่อมจ๊ะ)

 

33. ข้อใดคือรูปแบบวิธีการนวดที่เรียกว่า “แหก”

ตอบ การใช้คาถากำกับ ,การใช้อุปกรณ์ขูดผิวหนังบริเวณที่ปวด (ข้อสอบข้อนี้ออกทั้งปกติและซ่อมจ๊ะ)

 

34. ข้อใดคือปรัชญาการนวดภาคกลาง

ตอบ การนวดที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมชุมชน (ข้อสอบข้อนี้ออกทั้งปกติและซ่อมจ๊ะ)

 

35. ข้อใดคือรูปแบบวิธีการนวดพื้นบ้านภาคกลาง

ตอบ การบีบ การบิด การคลึง  การเหยียบ (ข้อสอบข้อนี้ออกทั้งปกติและซ่อมจ๊ะ)

 

36. อาการของโรคที่มีสาเหตุจากการอยู่ผิดตำแหน่งไปจากเดิมของเส้นคือ ข้อใด

ตอบ เส้นเข้า, เส้นออก, เส้นจม, เส้นขด

 

หมายเหตุ : วันนี้เอาไปอีก 2 บท ส่วนย่อไม่มีจ๊ะ อ่านให้หมด ข้อสอบออกครอบคลุมจริง ๆ ให้อ่านทำความเข้าใจก่อน และหากผิดพลาดประการใดแจ้งใน Facebook ได้นะจ๊ะ

แบ่งปันข่าวสาร Like & Share ให้ด้วยนะค่ะ