แม่สอด-ตาก  ฝนตก อึ่งออกรูจำศีล ชาวบ้านจับขาย‏

แม่สอด-ตาก ฝนตก อึ่งออกรูจำศีล ชาวบ้านจับขาย‏

แม่สอด-ตาก  ฝนตก อึ่งออกรูจำศีล ชาวบ้านจับขาย‏

แม่สอด-ตาก ฝนตก อึ่งออกรูจำศีล ชาวบ้านจับขาย‏

แม่สอด-ตาก  ฝนเริ่มตก อึ่ง ออกจากรูจำศีล ชาวบ้าน จับขาย ส่งต่าง จังหวัด กว่า 80,000 กก. ได้เงินมากกว่าปีละ 6.4 ล้านบาทเป็นเศรษฐกิจที่ได้รับครอบครัวละ 30,000-50,000 บาท เป็นเรื่องที่น่าทึ่งมาก เหตุอยู่ที่ช่วยกันรักษาป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติให้สมบรูณ์

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2555 จากการที่ได้เกิดพายุฝนตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่จังหวัดตาก ช่วง 3-4 วันที่ผ่านมา ทำให้มีอึ่งออกมาจากรูจำนวนมาก และมีประชาชน ได้ประกอบอาชีพเสริมโดยการออกจับอึ่งอ่างขาย โดยเฉพาะหมู่บ้านที่มีป่าชุมชนที่อุดมสมบรูณ์ จะมีอึ่งอ่างจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านสามารถจับอึ่งออกไปขายโดยทั้งขายตามถนนสายหลักที่มีประชาชนสัญจรผ่านไป-มา และส่งขายต่างจังหวัด สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะบริเวณที่มีอึ่งอ่างจำนวนมากจะต้องมีป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบรูณ์ จึงขอให้ประชาชนได้ช่วยกันเก็บรักษาความอุดมสมบรูณ์ของธรรมชาติเพื่อรักษาระบบนิเวศน์และชาวบ้านสามารถหารายได้เสริมให้กับตัวเองครอบครัวได้โดยการหาอาหารจากธรรมชาติได้ทุกปีหมุนเวียนกันไป เช่นฤดูจับอึ่ง-หน่อไม้-ผักหวาน-อาหารป่า ฯลฯ หากป่าสมบรูณ์ไม่ถูกบุกรุกทำลาย ความสมบรูณ์ก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เกษตรกรรายหนึ่งกล่าวว่า อึ่งอ่าง มีจำนวนมาก เนื่องจากป่าไม้และธรรมชาติสมบรูณ์ ที่ผ่านมาหลายปี เกษตกรจับอึ่งขายมีรายได้เฉลี่ยปีละ 30,000-50,000 บาทต่อครอบครัว โดยขาย กิโลกรัมละ 80 บาท ซึ่งในแต่ละปีจะมีอึ่งอ่างมากกว่าปีละ 80 ตันหรือ 80,000 กก. มีเงินสะพัดได้อย่างน่าทึ่งในแต่ละปีกว่า 6,400,000 บาท ในพื้นที่จังหวัดตาก ทั่วบริเวณ ทั้งพื้นที่ อ.แม่สอด-แม่ระมาด-ท่าสองยาง-พบพระ-อุ้มผาง – .สามเงา- อ.บ้านตาก- อ.วังเจ้า และ อ.เมือง จ.ตาก ในช่วงฤดูฝน จะมีอึ่งอ่าง ซึ่งเป็นสัตว์อยู่ในป่าออกจากรูจำศีลหากินแมลงและวางไข่ ทำให้ชาวบ้าน ได้ออกไปจับอึ่งขาย เพื่อสร้างรายได้ให้ตัวเองและครอบครัว ซึ่งปรากฎว่าการจับอึ่งขายนั้น ได้สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ อย่างดี ฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนวันละ 1,000-2,000 บาท ต่อครอบครัวเฉลี่ยตลอดปีมีรายได้ถึง 30,000-50,000 บาท สำหรับอึ่งที่ชาวบ้านออกไปจับเป็นอึ่งป่าตามธรรมชาติ จะออกจากจำศีลในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูฝน โดยจะออกมาเป็นจำนวนมากเป็นฤดูกาลตามธรรมชาติของอึ่ง โดยชาวบ้านได้จับอึ่งมาประกอบอาหาร รับประทานทั้งสด และย่าง และนำมาจำหน่ายที่บริเวณริมทางถนนสายพหลโยธิน สายตาก- ลำปาง ให้ผู้ที่ผ่านไป-มา แวะซื้อเป็นของฝาก ราคาขายอึ่งสด กิโลกรัมละ 80 บาท อึ่งย่างกิโลกรัม 120-150 บาท แต่หากมีการส่งออกไปต่างจังหวัดราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเท่าตัว คือ อึ่งสด กก.ละ 150 บาท ส่วนอึ่งย่างราคาสูงถึง กก.ละ 250 บาท ชาวบ้านแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำได้อย่างดียิ่ง สำหรับในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า อ.แม่สอด และอำเภอใกล้เคียง นั้น ฝนจะตกชุกมาก ทำให้อึ่งออกมาจำนวนมาก ชาวบ้านเก็บขายซึ่งบางครั้งยังมีชาวพม่า ที่เดินทางมาจากจังหวัดเมียวดี ที่นิยมและชอบบริโภคอึ่งก็ซื้อกลับไปทำอาหาร ชาวบ้านก็มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อึ่ง ใน จ.ตาก เป็นอึ่งธรรมชาติอยู่ในป่าลึก ตามภูเขาสูง ทำให้อึ่งสมบูรณ์มีรสชาติดี ต่างจากอึ่งที่เห็นอยู่ตามบ้านทั่วไป จะไม่นิยมรับประทาน ซึ่งช่วงนี้อึ่ง จ.ตาก ออกมาจำนวนมาก สำหรับตลาดส่งขายอึ่งอ่างจะส่งให้พ่อค้า ขาประจำใน จังหวัดใกล้เคียง เช่น ลำปาง, สุโขทัย, กำแพงเพชร และจังหวัดทางภาคกลาง และอีสานรวม ทั้งกรุงเทพฯ โดยระหว่างเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน จะมีอึ่งรวมทั้งกบ ออกจากรูหรือที่เรียกว่าออกจำศีล โดยชาวบ้านจะเริ่มออกหาเพื่อเก็บขาย

Credit  :  Manager.co.th

แบ่งปันข่าวสาร Like & Share ให้ด้วยนะค่ะ