กว่า 30,000 คน อพยพหนีศึกชาวพุทธ-โรฮิงญาในยะไข่

ตำรวจยืนรักษาการณ์ให้พนักงานดับเพลิงเข้าดับไฟ ขณะชาวพุทธยะไข่ หรือ "ระไค" (Rakhine) กับชาวมุสลิมโรฮิงญาต่อสู้กันในเมืองสิตตะเว (Sittwe) เมืองเอกของรัฐภาคตะวันตกพม่า ในภาพวันที่ 10 มิ.ย.2555 ตำรวจยิงปืนขึ้นฟ้าขู่ให้คู่อริแยกออกจากกัน ความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมาซึ่งผู้เห็นเหตุการณ์กล่าวว่าเริ่มจากชาวพุทธกรูเข้าทำร้ายชาวมุสลิมที่ข่มขืนหญิงสาวชาวพุทธ จนฝ่ายโรฮิงญาถึงแก่ชีวิตได้นำมาซึ่งความเกลียดชังและการโจมตีตอบโต้ทำร้ายกัน ทางการกล่าวว่าความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมาทำให้ราษฎรที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่กว่า 30,000 คน ต้องอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัย. -- REUTERS/Staff.

ตำรวจยืนรักษาการณ์ให้พนักงานดับเพลิงเข้าดับไฟ ขณะชาวพุทธยะไข่ หรือ "ระไค" (Rakhine) กับชาวมุสลิมโรฮิงญาต่อสู้กันในเมืองสิตตะเว (Sittwe) เมืองเอกของรัฐภาคตะวันตกพม่า ในภาพวันที่ 10 มิ.ย.2555 ตำรวจยิงปืนขึ้นฟ้าขู่ให้คู่อริแยกออกจากกัน ความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมาซึ่งผู้เห็นเหตุการณ์กล่าวว่าเริ่มจากชาวพุทธกรูเข้าทำร้ายชาวมุสลิมที่ข่มขืนหญิงสาวชาวพุทธ จนฝ่ายโรฮิงญาถึงแก่ชีวิตได้นำมาซึ่งความเกลียดชังและการโจมตีตอบโต้ทำร้ายกัน ทางการกล่าวว่าความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมาทำให้ราษฎรที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่กว่า 30,000 คน ต้องอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัย. -- REUTERS/Staff.

เอเอฟพี – ประชาชนมากกว่า 30,000 คน ต้องย้ายที่อยู่อาศัยเพราะการปะทะกันทางศาสนาอย่างรุนแรงในภาคตะวันตกของพม่า เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นอาวุโสของพม่า ระบุวันนี้ (14 มิ.ย.)

ประชาชนเกือบ 31,900 คน ต้องใช้ชีวิตอยู่ในค่าย 37 แห่ง ทั่วรัฐยะไข่ พันเอกเต่ง ลิน รัฐมนตรีรักษาความปลอดภัยและกิจการพรมแดนประจำรัฐ กล่าว พร้อมให้ข้อมูลว่า เมืองซิตตะเว เมืองเอกของรัฐยะไข่กลับสู่ความสงบแล้ว

พลเอกเต่ง ลิน ระบุว่า ประชาชน 29 คน เป็นชาวมุสลิม 16 คน และชาวพุทธยะไข่ 13 คน ถูกสังหาร ตั้งแต่วันศุกร์ (8 มิ.ย.) และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก บ้านเรือนเกือบ 2,600 หลังถูกเผาทำลายทั่วรัฐ

การเปิดเผยข้อมูลครั้งนี้มีขึ้นในการแถลงข่าวครั้งแรกของเจ้าหน้าที่ในเมืองซิตตะเว นับตั้งแต่เกิดเหตุความไม่สงบตั้งแต่วันศุกร์เป็นต้นมา ที่ ชาวพุทธและชาวโรฮิงญาต่างกล่าวหากันไปมาว่าเป็นผู้โจมตี

นับเป็นเวลายาวนานหลายทศวรรษของการเลือกปฏิบัติที่ทำให้ชาวมุสลิมโรฮิงญาไร้สัญชาติ และสหประชาชาติระบุว่าชาวโรฮิงญาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกกดขี่ข่มเหงมากที่สุดในโลก และรายงานระบุว่ามีชาวโรฮิงญาราว 800,000 คน อาศัยอยู่ในพม่า ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐยะไข่

รัฐบาลพม่ากำหนดให้ชาวโรฮิงญาเป็นชาวต่างชาติ ขณะที่ชาวพม่ามองว่าชาวโรฮิงญาเป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศและมองว่าชาวโรฮิงญาเหล่านี้เป็นศัตรู

นายหล่า เต็ง หัวหน้าผู้พิพากษาประจำรัฐระบุว่า ไม่มีใครชนะ ไม่มีใครได้ประโยชน์จากความรุนแรง สิ่งที่ได้คือผู้ลี้ภัย ทุกคนมีหน้าที่ต้องป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอีก แต่เป็นเรื่องยากที่จะหารือถึงสันติภาพเมื่อทั้งสองฝ่ายต่างไม่ไว้ใจกัน.

ครอบครัวชาวยะไข่ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในรัฐภาคตะวันตกของพม่าอาศัยอยู่ภายในวัดแห่งหนึ่งในเมืองสิตตะเว ซึ่งใช้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราว ในภาพวันที่ 13 มิ.ย.2555 เพื่อให้ปลอดภัยจากการปะทะระหว่างชาวพุทธยะไข่กับชาวมุสลิมโอฮิงญา ทางการกล่าวว่าจนถึงวันพฤหัสบดี 14 มิ.ย. มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 29 คน อีกกว่า 30,000 คนต้องอพยพไปอยู่ในแหล่งที่ปลอดภัย.-- AFP PHOTO.

ครอบครัวชาวยะไข่ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในรัฐภาคตะวันตกของพม่าอาศัยอยู่ภายในวัดแห่งหนึ่งในเมืองสิตตะเว ซึ่งใช้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราว ในภาพวันที่ 13 มิ.ย.2555 เพื่อให้ปลอดภัยจากการปะทะระหว่างชาวพุทธยะไข่กับชาวมุสลิมโอฮิงญา ทางการกล่าวว่าจนถึงวันพฤหัสบดี 14 มิ.ย. มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 29 คน อีกกว่า 30,000 คนต้องอพยพไปอยู่ในแหล่งที่ปลอดภัย.-- AFP PHOTO.

เด็กๆ ชาวยะไข่ ทานอาหารภายในวัดแห่งหนึ่งในสิตตะเว วันที่ 13 มิ.ย.2555 ซึ่งใช้เป็นแหล่งหลบพักชั่วคราวจากเหตุความรุนแรงระหว่างชาวพุทธกับชาวมิสลิมโรฮิงญาในรัฐทางตะวันตกพม่า และรัฐบาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในเมืองนี้ คนกว่า 30,000 ต้องอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัย. -- AFP PHOTO.

เด็กๆ ชาวยะไข่ ทานอาหารภายในวัดแห่งหนึ่งในสิตตะเว วันที่ 13 มิ.ย.2555 ซึ่งใช้เป็นแหล่งหลบพักชั่วคราวจากเหตุความรุนแรงระหว่างชาวพุทธกับชาวมิสลิมโรฮิงญาในรัฐทางตะวันตกพม่า และรัฐบาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในเมืองนี้ คนกว่า 30,000 ต้องอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัย. -- AFP PHOTO.

ชาวยะไข่นำเอาน้ำจากรถดับเพลิงไปดับไฟที่ไหม้บ้านเรือนของพวกเขาหลังการปะทะระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมโรฮิงญา ในภาพวันที่ 10 มิ.ย.2555 ความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 29 คน มีราษฎรอีกกว่า 30,000 ต้องหนีออกจากบ้านเรือนไปพักพิงในแหล่งที่ปลอดภัยเป็นการชั่วคราว. -- REUTERS/Staff.

ชาวยะไข่นำเอาน้ำจากรถดับเพลิงไปดับไฟที่ไหม้บ้านเรือนของพวกเขาหลังการปะทะระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมโรฮิงญา ในภาพวันที่ 10 มิ.ย.2555 ความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 29 คน มีราษฎรอีกกว่า 30,000 ต้องหนีออกจากบ้านเรือนไปพักพิงในแหล่งที่ปลอดภัยเป็นการชั่วคราว. -- REUTERS/Staff.

หญิงสาวชาวพุทธยะไข่สองคนถือท่อนไม้ไผ่ปลายแหลมเป็นอาวุธ ยืนป้องกันบ้านของพวกเธอ ขณะเกิดการปะทะกันระหว่างชาวยะไข่กับชาวมุสลิมโรฮิงญาในภาพวันที่ 9 มิ.ย.2555 ชาวโรฮิงญาหลายร้อยคนอพยพหนีความรุนแรงโดยพยายามข้ามพรมแดนไปบังกลาเทศแต่ถูกส่งกลับ ขณะที่ประชาชนอีกกว่า 30,000 คนในเมืองสิตตะเว ต้องอพยพจากบ้านไปอาศัยในแหล่งพักพิงที่ปลอดภัย. -- REUTERS/Soe Zeya Tun.

หญิงสาวชาวพุทธยะไข่สองคนถือท่อนไม้ไผ่ปลายแหลมเป็นอาวุธ ยืนป้องกันบ้านของพวกเธอ ขณะเกิดการปะทะกันระหว่างชาวยะไข่กับชาวมุสลิมโรฮิงญาในภาพวันที่ 9 มิ.ย.2555 ชาวโรฮิงญาหลายร้อยคนอพยพหนีความรุนแรงโดยพยายามข้ามพรมแดนไปบังกลาเทศแต่ถูกส่งกลับ ขณะที่ประชาชนอีกกว่า 30,000 คนในเมืองสิตตะเว ต้องอพยพจากบ้านไปอาศัยในแหล่งพักพิงที่ปลอดภัย. -- REUTERS/Soe Zeya Tun.

เด็กหนุ่มชาวพุทธยะไข่ถือดาบยาวเป็นอาวุธ ขณะที่อีกหลายคนถือท่อนไม้หรือวัตถุอื่นๆ คอยป้องกันบ้านเรือนมิให้ถูกเผาในภาพวันที่ 9 มิ.ย.2555 ขณะเกิดการปะทะกันระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมโรฮิงยาในเมืองสิตตะเว รัฐยะไข่ หรือ "ระไค" (Rakhine) ทางตะวันตกของพม่า จนถึงวันพฤหัสบดี 14 มิ.ย. มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 29 คน อีกกว่า 30,000 คนต้องอพยพไปอยู่ในแหล่งที่ปลอดภัย. REUTERS/Soe Zeya Tun.

เด็กหนุ่มชาวพุทธยะไข่ถือดาบยาวเป็นอาวุธ ขณะที่อีกหลายคนถือท่อนไม้หรือวัตถุอื่นๆ คอยป้องกันบ้านเรือนมิให้ถูกเผาในภาพวันที่ 9 มิ.ย.2555 ขณะเกิดการปะทะกันระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมโรฮิงยาในเมืองสิตตะเว รัฐยะไข่ หรือ "ระไค" (Rakhine) ทางตะวันตกของพม่า จนถึงวันพฤหัสบดี 14 มิ.ย. มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 29 คน อีกกว่า 30,000 คนต้องอพยพไปอยู่ในแหล่งที่ปลอดภัย. REUTERS/Soe Zeya Tun.

หญิงกับเด็กๆ ที่อพยพจากเมืองสิตตะเวทางเรือในภาพวันที่ 13 มิ.ย.2555 ขณะเกิดเหตุรุนแรง ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ข้ามแม่น้ำไปยังฝั่งบังกลาเทศซึ่งเป็นรัฐมุสลิม แต่ก็ไม่ได้รับการต้อนรับ ราษฎรอีกกว่า 30,000 ในรัฐทางตะวันตกพม่าแห่งนี้ต้องอพยพไปอาศัยในแหล่งปลอดภัยเช่นกัน. -- REUTERS/Andrew Bir

หญิงกับเด็กๆ ที่อพยพจากเมืองสิตตะเวทางเรือในภาพวันที่ 13 มิ.ย.2555 ขณะเกิดเหตุรุนแรง ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ข้ามแม่น้ำไปยังฝั่งบังกลาเทศซึ่งเป็นรัฐมุสลิม แต่ก็ไม่ได้รับการต้อนรับ ราษฎรอีกกว่า 30,000 ในรัฐทางตะวันตกพม่าแห่งนี้ต้องอพยพไปอาศัยในแหล่งปลอดภัยเช่นกัน. -- REUTERS/Andrew Bir

ชาวมุสลิมโรฮิงญาจากพม่าที่ได้ตั้งถิ่นฐานในมาเลเซีย ชุมนุมในกรุงกัวลาลัมเปอร์วันที่ 12 มิ.ย.2555 ชูป้ายเรียกร้องให้ "หยุดการเข่นฆ่า" เพื่อนร่วมเผ่าพันธุ์ของพวกตนในเมืองสิตตะเว รัฐยะไข่ รัฐบาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในเมืองนี้ คนกว่า 30,000 ต้องอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัย. -- AFP PHOTO.

ชาวมุสลิมโรฮิงญาจากพม่าที่ได้ตั้งถิ่นฐานในมาเลเซีย ชุมนุมในกรุงกัวลาลัมเปอร์วันที่ 12 มิ.ย.2555 ชูป้ายเรียกร้องให้ "หยุดการเข่นฆ่า" เพื่อนร่วมเผ่าพันธุ์ของพวกตนในเมืองสิตตะเว รัฐยะไข่ รัฐบาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในเมืองนี้ คนกว่า 30,000 ต้องอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัย. -- AFP PHOTO.

Credit by manager.co.th

แบ่งปันข่าวสาร Like & Share ให้ด้วยนะค่ะ