• Home »
  • ข่าวทั่วไป »
  • เจาะข่าวเด่น:หาความจริงของ นิบิรุ-พายุสุริยะ ในวันสิ้นโลก 2012

เจาะข่าวเด่น:หาความจริงของ นิบิรุ-พายุสุริยะ ในวันสิ้นโลก 2012

 

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ท

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ท

กำลังเป็นที่สนใจอย่างมากเลยทีเดียว… สำหรับวันที่ “21 ธันวาคม 2012” ที่ใกล้จะถึงนี้ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของปฏิทินมายา และเชื่อกันว่าเป็น “วันสิ้นโลก” ทั้งนี้ ทั่วโลกก็ต่างจับตามองเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะต่างประเทศที่ค่อนข้างตื่นตัวและให้ความสนใจอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะมีนักดาราศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ ต่างออกมาระบุว่า “วันสิ้นโลก” ไม่มีจริง และวันที่ 21 ธันวาคม ก็เป็นเพียงวันธรรมดาวันหนึ่งเท่านั้น แต่ก็ยังมีบางคนที่เชื่อ และยังส่งต่อจดหมายลูกโซ่ ที่่ระบุถึงเหตุการณ์ของ “วันสิ้นโลก” 5 รูปแบบแตกต่างกันไป

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางรายการ “เจาะข่าวเด่น” (10 ธันวาคม) จึงได้เชิญ อาจารย์สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาพูดคุยถึงเรื่องดังกล่าว

โดยอาจารย์สธน ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า… ตนได้จดหมายลูกโซ่ที่ระบุถึงข้อสันนิษฐานที่จะทำให้โลกแตก 5 ข้อ มาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งพอมาถึงวันนี้ก็มีข้อมูลปรับเปลี่ยนไปเยอะมาก ส่วน 5 ข้อที่กล่าวนั้นมีดังนี้…

– ดาวเคราะห์นิบิรุ จะพุ่งชนโลก
– พายุสุริยะจะแตกตัว
– สนามแม่เหล็กโลกกลับขั้ว
– ดาวเคราะห์เรียงตัวกัน จนเกิดผลกระทบทำให้โลกแตก
– โลกจะหลุดเข้าไปในหลุมดำ

ทั้งนี้ ในวันที่ปฏิทินระบุว่า วันที่ 21 ธันวาคม จะเป็นวันสุดท้ายของโลก ซึ่งเหตุการณ์ทั้ง 5 เหตุการณ์ข้างต้นไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะเกิดในวันดังกล่าว

อาจารย์สธน ระบุว่า จาก 5 เหตุการณ์นั้น มีเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับภาพยนตร์ถึง 4 เรื่อง เรื่องแรกที่เราจะพูดถึงกันนั้นก็คือเรื่อง “ดาวเคราะห์นิบิรุ” ที่มีเรื่องราวคล้ายภาพยนตร์เรื่อง “อามาเกดอน” ทั้งนี้ ในจดหมายลูกโซ่ได้บันทึกว่า ดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวจะเคลื่อนที่เข้ามาโดยที่โลกมองไม่เห็น และพุ่งชนโลกจนทำให้โลกแตกเหมือนกับเรื่องอามาเกดอนที่ดาวเคราะห์จะพุ่งชนเท็กซัส สหรัฐฯ แต่ในความเป็นจริงทางด้านฟิสิกส์แล้ว เมื่อดาวเคราะห์ หรือวัตถุใดเคลื่อนเข้ามาใกล้ระบบสุริยะ ก็จะทำให้ดาวเคราะห์ที่อยู่ในวงโคจรมีการเปลี่ยนแปลง เฉกเช่น เหตุการณ์เมื่อสมัยปี 1846 ที่เราค้นพบดาวเนปจูน และปี 1930 ที่พบดาวพลูโต ซึ่งในขณะนั้นนักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์ เห็นความเปลี่ยนแปลงของดาวเสาร์ และดาวพฤหัส จนทำให้เราทราบว่า มีดาวที่อยู่ต่อจากนั้นอีก 2 ดวง เพราะวงโคจรของดาวพฤหัสเกิดการขยับ และหากดาวพฤหัสเกิดการเปลี่ยนแปลงยังไงเราก็ต้องรู้อยู่แล้ว เพราะดาวพฤหัสทำหน้าที่เหมือนยามประตูของระบบสุริยะ และปกป้องระบบสุริยะส่วนใน ซึ่งหากมีดาวดวงใดที่เล็กกว่าดาวพฤหัส เคลื่อนที่เข้ามาใกล้ มันก็จะดึงเข้าไปหมด อาทิ เช่น ดาวหางต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งหากมีดาวเคราะห์นิบิรุจริง เราก็จะเห็นก่อนอย่างแน่นอน

Credit by Kapook

แบ่งปันข่าวสาร Like & Share ให้ด้วยนะค่ะ